Toolbar

2024

5 items

สร้างภาพนี้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ของของเหลวในสภาวะไร้น้ำหนัก ซึ่งเป็นสาขาที่สำคัญในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมอวกาศ การทดลองและการสังเกตการณ์ในสภาวะไร้น้ำหนักช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจพฤติกรรมของของเหลวที่แตกต่างจากสภาวะปกติบนโลก ในสภาวะไร้น้ำหนัก แรงโน้มถ่วงมีผลน้อยมาก ทำให้ของเหลวสามารถรวมตัวกันเป็นทรงกลมได้เนื่องจากแรงตึงผิวเป็นแรงหลักที่กระทำต่อของเหลว แรงตึงผิวเป็นแรงที่ทำให้ของเหลวพยายามลดพื้นที่ผิวให้น้อยที่สุด ส่งผลให้ของเหลวในสภาวะไร้น้ำหนักมักมีรูปร่างเป็นทรงกลม

การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไดโนเสาร์ซอโรพอดก็เช่นเดียวกัน ทุกการเติบโตจะถูกบันทึกข้อมูลไว้ภายในกระดูก เช่น เมื่อไดโนเสาร์อยู่ในวัยเยาว์จะพบลักษณะเนื้อเยื่อปฐมภูมิ และหลอดเลือดจำนวนมาก ทำให้อัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างรวดเร็ว (สองภาพทางขวามือ) แต่เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ไดโนเสาร์จะมีการลดอัตราการเจริญเติบโต ซึ่งส่วนมากจะพบเนื้อเยื่อทุติยภูมิ และการจัดเรียงของเส้นใยคอลลาเจนที่เรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ (สองภาพทางซ้ายมือ) ดังนั้นเมื่อเราศึกษา มิญชวิทยาของกระดูกเราจะสามารถรับรู้เรื่องราวบันทึกการเติบของไดโนเสาร์ชนิดนั้น ๆ ได้

จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ "ดอยหัวหมด" เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัยที่ทอดยาวต่อเนื่องมาจากหิมาลัย พรรณไม้ส่วนใหญ่ที่ขึ้นบริเวณนี้จึงเป็นพืชเฉพาะถิ่นและพรรณไม้หายากนานาชนิด เช่น "พิศวงตานกฮูก" ที่มีชื่อสามัญเรียกว่า "พิศวงไทยทอง" และชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thismia thaithongiana เป็นพืชล้มลุกอาศัยราชนิดใหม่ของโลก พบในป่าเต็งรังบนเขาหินปูน มีความสูงไม่ถึง 2 มม.เป็นพืชแสนประหลาดที่มีชีวิตลี้ลับ ออกดอกในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนเท่านั้น มีสถานภาพเป็นพันธุ์ไม้ที่ใกล้สูญพันธุ์

ภาพถ่าย 3 มิติของ รากต้นอ้อน้อย ซึ่งต้นอ้อน้อย (Phragmites australis) เป็นพืชที่นิยมใช้ในระบบกักกั้นทางชีวภาพ (Bioretention system) จึงได้มีการนำมาใช้ทดสอบการบำบัดไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในน้ำทิ้ง พร้อมทั้งศึกษาการเคลื่อนที่และการสะสมของไมโครพลาสติกบริเวณรากของพืชด้วยการเตรียมตัวอย่างพืชด้วยวิธีการตัดตามขวาง (Cross section monocot root) ซึ่งไม่พบไมโครพลาสติกสะสมภายในรากพืช แต่ส่วนใหญ่พบเกาะติดบริเวณพื้นที่ผิวภายนอกของราก

ตัวอ่อนของไก่ที่มีอายุประมาณ 72 ชั่วโมงหลังจากการปฏิสนธิ (หรือประมาณ 3 วัน) ตัวอ่อนมีขนาดความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มีการเจริญเติบโตและพัฒนารูปร่างที่เด่นชัดขึ้น ปีกและขาของตัวอ่อนเริ่มปรากฏเป็นลักษณะของอวัยวะที่ยังไม่สมบูรณ์ อวัยวะภายในได้แก่หัวใจ ทางเดินหาร และระบบประสาท เริ่มมีการพัฒนา เซลล์ต่าง ๆ มีการเติบโตและเริ่มจัดระเบียบตามฟังก์ชันที่พวกมันจะต้องทำในอนาคต 

โครงการประกวดภาพถ่ายวิทยาศาสตร์ "วิทย์ติดเลนส์"

อพวช. ขอเชิญชวนทุกคนร่วมกันสื่อสารวิทยาศาสตร์ ด้วยการมองสิ่งรอบตัวเป็นวิทยาศาสตร์ แล้วถ่ายภาพมาร่วมสนุกกันตาม
หัวข้อที่ทางเราตั้งเอาไว้เหมือนเป็นการแชร์ประสบการณ์ในการพบเห็นเรื่องราววิทยาศาสตร์รอบตัวแล้วมาเล่าสู่กันฟังผ่านภาพถ่าย

วิธีการส่งภาพ

ขั้นตอนการส่งภาพประกวด

1. เข้าไปที่เมนู "หัวข้อการประกวดและส่งภาพเข้าประกวด"
2. เลือกประเภท/รุ่น/หัวข้อการประกวด
3. อ่านกติกาการประกวดทั้งหมดให้ครบถ้วน
4. คลิกที่ "ส่งภาพเข้าประกวด" เพื่อเข้าสู่ลิงค์ส่งภาพ google form 

 

วิธีการโหวตภาพ

1 email เข้าโหวตได้ 1 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งจะสามารถโหวตได้อย่างน้อย 1 ภาพ และโหวตได้สูงสุดไม่เกิน 5 ภาพ

ติดต่อเรา

โทรศัพท์ 02 577 9999 ต่อ 1472 หรือ 1474

nsmphotocontest@nsm.or.th

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
39 หมู่ 3 ถ. เลียบคลองห้า ต.คลองห้า อ.คลองหลวง
จ.ปทุมธานี 12120