Toolbar

2024

10 items

ฟ้าผ่าเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการควบรวมปลดปล่อยประจุไฟฟ้าอิเล็คตรอน ซึ่งในการถ่ายภาพไม่มีแอปพลิเคชันไหนสามารถคำนวณได้ ไม่เหมือนการคำนวณพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายในการถ่ายภาพมาก ฟ้าผ่าถ่ายไม่ยากแต่จะให้ผ่าตรงจุดที่เราต้องการยากมากๆๆ ซึ่งในการถ่ายภาพนี้ต้องอาศัยความพยายามอย่างมาก ซึ่งเวลาฝนตกฟ้าร้องครั้งใดต้องออกถ่าย โดยดูทิศที่ฟ้าผ่า แล้วคำนวณมุมที่เราจะตั้งกล้องให้ตรงทิศ โดยในภาพผมได้มองทิศฟ้าผ่าแล้วขับรถหามุมที่ตั้งกล้องแล้วกดถ่ายไปเรื่อย ๆ จนกว่าฟ้าจะผ่าตรงจุดที่เราต้องการ ซึ่งต้องใช้ดวงและความพยายามอย่างมากซึ่งหลายครั้งแล้วที่ไปตั้งกล้องแล้วไม่ผ่าตรงจุด

คอนแทคเลนส์เป็นวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นเพื่อแก้ปัญหาของผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตา ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น, ยาว, เอียง ให้สะดวกต่อการดำรงชีวิตในชีวิตประจำวันโดยไม่จำเป็นต้องใส่แว่นตา แต่เมื่อวิทยาศาสตร์ได้ก้าวหน้าไปพร้อมกับความงาม แฟชั่นจึงมีการพัฒนาออกแบบสีสันของคอนแทคเลนส์ให้มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น เพื่อการสวมใส่ที่หลากหลายที่ไม่จำเป็นเฉพาะผู้มีปัญหาทางสายตา

เที่ยวทะเลหน้าร้อนนี้ หาความแปลกใหม่ให้กับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ด้วยของใกล้ตัว อย่างลูกแก้ว ที่มีรูปร่างกลมและโปร่งใส เปรียบเสมือนเลนส์โค้ง ส่งให้ภาพที่ปรากฎภายในลูกแก้วนั้นกลับหัว เพียงแค่เลือกฉากหลังที่ชอบบรรจงวางลูกแก้วลงอย่างมั่นคง ไม่กลิ้งไปมา เท่านี้ก็สร้างความสนุกให้กับภาพถ่ายของเราได้ง่าย ๆ

แสงอาทิตย์อัศดงตกส่งท้ายของวันหลังพระใหญ่ วัดปากน้ำภาษีเจริญ สัญลักษณ์ฝั่งธน ผ่านถนนลาดหญ้า โดยผ่านการใช้ชีวิตของประชาชนชาวฝั่งธนที่มีความจอแจของจราจรและวิถีชีวิตที่เร่งรีบทำให้เราไม่ได้เห็นความสวยงามของธรรมชาติและธรรมะ

การนำปลาหมึกแก้วมาตากแห้งด้วยแสงแดดจากดวงอาทิตย์เป็นวิธีการถนอมอาหารยืดอายุการเก็บรักษาเป็นที่นิยมใช้มานาน โดยลดความชื้นของปลาหมึกด้วยการระเหยน้ำหรือการระเหิดน้ำส่วนใหญ่ในปลาหมึกออก เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ทุกชนิดที่เป็นสาเหตุให้ปลาหมึกเน่าเสียยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์หรือชะลอปฎิกิริยาต่างๆทั้งทางเคมีและทางชีวเคมี ซึ่งมีน้ำเป็นส่วนร่วมและเป็นสาเหตุให้ปลาหมึกเน่าเสียได้

เมื่อมองเนื้อทราย (สัตว์ในวงศ์กวาง) ในมุมย้อนแสงกับที่มีคนส่องไฟดูสัตว์กันอีกด้านพอดี ทำให้เกิดริมไลท์ หรือแสงที่รอบตัวของมันมาจากการที่ไฟถูกส่องมาด้านหลัง ทำให้ขนที่อยู่รอบตัวของเนื้อทรายเกิดเป็น "รูปทรง" ขึ้นมา บวกกับการที่มีละอองฝุ่นหรือแมลงในทุ่งหญ้าบินอยู่ เมื่อสิ่งพวกนั้นโดนแสงและอยู่นอกระยะโฟกัสจึงเกิดเป็น "โบเก้" ขึ้นมา นี่เป็นข้อดีของการถ่ายย้อนแสงจัง ๆ 

การต่อสู้เพื่อการมีชีวิตอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในเป้าหมายสูงสุดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกใบนี้ โดยแต่ละชนิดก็จะมีกลยุทธ์และเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป การเอาชีวิตอยู่รอดนั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญของกระบวนการคัดเลือก โดยธรรมชาติซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานทางชีววิทยา และมักจะเกี่ยวพันกับการแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด เช่นเดียวกับปะการังในภาพ ที่เป็นปะการังชนิดเดียวกันแต่ต่างโคโลนีกำลังแข่งขันและต่อสู้กันเองเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมที่มีพื้นที่อันจำกัด ผู้ที่ชนะการต่อสู้ถึงจะได้ขยายพื้นที่และเพิ่มอาณาเขตในการหาอาหารและสังเคราะห์แสงการแข่งขันนี้เองที่ขับเคลื่อนไปสู่วิวัฒนาการของการปรับตัวที่ดีขึ้นภายในแต่ละสายพันธุ์

ตามหลักวิทยาศาสตร์ ทางช้างเผือกคือกาแล็กซี หรือดาราจักร ที่โลกเราเป็นสมาชิกอยู่ ประกอบไปด้วยดวงดาวมากมาย ซึ่งหากเรามองขึ้นไปบนฟ้าในค่ำคืนที่มืดสนิด ไร้แสงรบกวนจากตัวเมือง เราจะเห็นแสงจากกลุ่มดาวมากมาย รวมถึงใจกลางของทางช้างเผือกบนท้องฟ้าที่ส่องแสงอย่างสวยงาม ในเอกภพอันกว้างใหญ่ของเรา

Kryptopterus vitreolus หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อปลาก้างพระร่วง เป็นปลาน้ำจืดประเภท Kryptopterusที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย มีลักษณะตัวเล็กเพียง 6-8 เซนติเมตร มีหนวดสองคู่และไม่มีเกล็ด เนื่องจากปลาชนิดนี้ไม่มีเม็ดสีภายในร่ายกายปลาก้างพระร่วงจึงมีลักษณะลำตัวที่ใสจนสามารถเห็นอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างชัดเจน และนอกจากนี้หากใช้แว่นขยายยังสามรถเห็นหัวใจเต้นได้อีกด้วย

จั๊กจั่น-แมลงขนิดหนึ่งที่ใช้เกือบทั้งชีวิตอาศัยอยู่ใต้ดินนานหลายปี จนถึงเวลาที่เหมาะสมในกลางดึกของคืนหน้าร้อนตัวอ่อนของมันก็จะขึ้นมา ลอกคราบสยายปีกและออกบินไปเพื่อหาคู่ ในช่วงนี้พวกมันจะเหลือเวลาอีกแค่ไม่กี่เดือนหรือสัปดาห์ก่อนจะตาย

โครงการประกวดภาพถ่ายวิทยาศาสตร์ "วิทย์ติดเลนส์"

อพวช. ขอเชิญชวนทุกคนร่วมกันสื่อสารวิทยาศาสตร์ ด้วยการมองสิ่งรอบตัวเป็นวิทยาศาสตร์ แล้วถ่ายภาพมาร่วมสนุกกันตาม
หัวข้อที่ทางเราตั้งเอาไว้เหมือนเป็นการแชร์ประสบการณ์ในการพบเห็นเรื่องราววิทยาศาสตร์รอบตัวแล้วมาเล่าสู่กันฟังผ่านภาพถ่าย

วิธีการส่งภาพ

ขั้นตอนการส่งภาพประกวด

1. เข้าไปที่เมนู "หัวข้อการประกวดและส่งภาพเข้าประกวด"
2. เลือกประเภท/รุ่น/หัวข้อการประกวด
3. อ่านกติกาการประกวดทั้งหมดให้ครบถ้วน
4. คลิกที่ "ส่งภาพเข้าประกวด" เพื่อเข้าสู่ลิงค์ส่งภาพ google form 

 

วิธีการโหวตภาพ

1 email เข้าโหวตได้ 1 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งจะสามารถโหวตได้อย่างน้อย 1 ภาพ และโหวตได้สูงสุดไม่เกิน 5 ภาพ

ติดต่อเรา

โทรศัพท์ 02 577 9999 ต่อ 1472 หรือ 1474

nsmphotocontest@nsm.or.th

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
39 หมู่ 3 ถ. เลียบคลองห้า ต.คลองห้า อ.คลองหลวง
จ.ปทุมธานี 12120