2023
8 items
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หรือภาวะ Sepsis คร่าเสียชีวิตคนไทย มากกว่า 5 คน ในทุก ๆ 1 ชั่วโมง สิ่งสำคัญในการช่วยลดการเสียชีวิตของผู้ป่วย คือ การหาชนิดของเชื้อก่อโรค และการให้ยาฆ่าเชื้อให้เร็วที่สุดผ่านกระบวนการการเพาะเลี้ยงเชื้อ โดยใช้ Agar (อาหารเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย) หลากหลายสี ซึ่งผลิตจากสารสกัดจากสาหร่ายทะเลสีแดง แล้วนำมาทำแห้ง agar เป็นสารซัลโฟเนตมิวโคพอลิแซ็กคาร์ไรด์ (sulphonatedmucopolysaccharide) โดยแบคทีเรียต่างชนิดกันมีความต้องการสารอาหาร ตลอดจนสภาพความเป็นกรดด่าง (pH) ของอาหารแตกต่างกัน เช่น สีแดงสด คือ Blood agar เป็นการใช้อาหารวุ้นที่เติมเลือด สีชมพู คือ MacConkey agar
การสะสมของ Amyloid beta เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสื่อมของสมองในโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งพบมากที่สุดในผู้สูงอายุ ผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การสะสมของ Amyloid beta ก่อให้เกิดการอักเสบของระบบประสาทที่ทำให้เซลล์ค้ำจุน เช่น ไมโครเกลีย เกิดการฟาโกไซโทซิสเซลล์สมอง (การกลืนกินของเซลล์) ในภาพนี้นักวิจัยใช้หนูที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้เป็นโรคอัลไซเมอร์และกล้องจุลทรรศน์ขยาย 60 เท่าเพื่อสังเกตรายละเอียดที่ศูนย์กลางของเซลล์สมอง (เขียว) ที่มี Amyloid beta (แดง) สะสมรอบเซลล์ และไมโครเกลีย (ชมพู) ที่กำลังฟาโกไซโทซิสเซลล์สมอง ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในสมองส่วน Hippocampus ที่เป็นส่วนสำคัญมากในระบบความจำ แสดงให้เห็นว่าการอักเสบของระบบประสาทเป็นหนึ่งในกลไกลสำคัญที่ส่งผลต่อความจำเสื่อมในโรคอัลไซเมอร์
เป็นกลุ่มแบคทีเรีย Streptococcus ที่ลอยตัวในน้ำนม ที่กำลังหมัก ซึ่งมีแลคโตส กลูโคส โปรตีน ไขมันเป็นส่วนประกอบ กำลังเข้าสู่ วัฏจักร Tricarboxylic acid cycle เพื่อผลิต Exopolysaccharides, EPS ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์หมักมีความหนืด เนียนเรียบและเป็นครีม ส่งผลให้แบคทีเรียทนต่อสภาวะที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การเปลี่ยนแปลงค่า pH และแรงดันออสโมติกสูง (osmotic pressure) จากรูปจะเห็นลอยตัวในเนื้อที่ยืด ๆ เหนียว คล้าย ๆ กับกลุ่มก้อนเนบิวลาที่ฟุ้งไปทั่วพื้นพื้นหลังอวกาศ
ตาประกอบและก้านตา 2 คู่ รยางค์ปาก 5 คู่ และรยางค์ขา 5 คู่ ลำตัวปกคลุมด้วยกระดองด้านบน และมีแผ่นท้องหรือ "จับปิ้ง" ปกคลุมด้านล่าง เป็นอวัยวะของเอ็มบริโอช่วงสุดท้ายในสัตว์กลุ่มปู เรียกว่าระยะ megalopa กว่า 80% ของสัตว์กลุ่มปูอาศัยอยู่ในทะเล และมีเอ็มบริโอระยะ zoea และ megalopa อยู่นอกไข่ หากินและล่องลอยในทะเล เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ แต่ไม่ใช่สำหรับปูนาหรือปูน้ำจืดที่พบมากในประเทศไทย ซึ่งอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำมากบ้าง น้อยบ้าง ไม่มีความแน่นอน ไม่เหมาะต่อการดำรงชีวิตของเอ็มบริโอในรูปแบบแพลงก์ตอนสัตว์ การเจริญในระยะเอ็มบริโอของปูนาจึงถูกธรรมชาติคัดสรรให้เจริญอยู่ภายในไข่ปู เรียกว่า egg-zoea และ egg-megalopa จึงต้องใช้เทคนิคพิเศษในการถ่ายภาพลักษณะเอ็มบริโอภายในไข่ปูที่มีขนาดเล็กเพียง 1 มม.
ภาพถ่ายมิญชวิทยาของผิวหนังของหิ้งห้อย Sclerotia aquatilis จากบริเวณลำตัว แสดงถึงความสวยงามและมุมมองศิลปะทางเนื้อเยื่อ ผ่านการขับเคลื่อนด้วยธรรมชาติและพื้นที่อาศัยของหิ้งห้อยจากการพิจารณาแนวตัดตามยาว พบว่าสามารถจำแนกผิวหนังประกอบด้วยชั้น exocuticle หนาและเด่นชัด พร้อมทั้งมีโครงสร้างเด่นคล้ายหกเหลี่ยมและสังเกตเห็นตรงกลางภาพ มีการจัดเรียงคล้ายดอกไม้ที่ไม่ผ่านการปรุงแต่ง ถัดมาเป็น endocutile ที่มีต่อมผิวหนัง (dermal gland) ขนานกับชั้น exocuticle มีลักษณะรูปร่างกลม และมีเซลล์ติดสีม่วงเรียงต่อกัน เชื่อว่ามีหน้าที่สร้างคิวติเคิลรองรับการทำงานของระบบผิวหนังของหิ้งห้อย
ในป่าช่วงเช้าที่มีความชื้นค่อนข้างสูง เราอาจจะพบใยของแมงมุมนั้นมีหยาดน้ำค้างใส ๆ เกาะอยู่เป็นจำนวนมาก แต่แม้ว่าจะมีหยาดน้ำค้างเกาะอยู่บนใยก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวของมันเท่าไหร่นัก เพราะสัญชาตญาณตามธรรมชาติของแมงมุมนั้นย่อมรู้ดีว่า เส้นใยที่สร้างขึ้นนั้นมีส่วนที่เป็นโครงสร้างเพื่อใช้ในการเคลื่อนไหวอยู่บริเวณใด จึงทำให้ แมงมุมไม่เดินไปติดใยเหนียว ๆ ของตัวมันเอง ในขณะเดียวกันนั้นหยาดน้ำค้างที่อยู่บนใยของพวกมัน เมื่อกระทบเข้ากับแสงจะทำให้เกิดการสะท้อน ส่งผลให้แมลงขนาดเล็กที่อาจมีความไวต่อแสงสีถูกล่อให้เข้ามาติดกับดักของมันและถูกจับกินเป็นอาหารได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งเป็นผลพวงที่แมงมุมนั้นได้รับประโยชน์จากธรรมชาติอย่างแท้จริง
จุ้งแห้ง หรือกุ้งแห้ง อาหารที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี เป็นส่วนประกอบในอาหารหลากหลายชนิด เช่น ส้มตำไทย น้ำปลาหวาน เป็นต้น ทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่า ในกุ้งแห้งที่เรารับประทานนั้นมีธาตุใดอยู่บ้าง จะมีโลหะหนักอย่างที่เคยเห็นในข่าวหรือไม่? คำตอบมีอยู่ที่นี่แล้ว ด้วยการใช้เทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ (XRF) ทำให้เราเห็นถึงการสะสมและกระจายตัวของธาตุต่างๆ ในกุ้งแห้ง ทุกคนมาช่วยกันสังเกตสิ ว่ากุ้งนี้ปลอดภัยหรือไม่?
หยดน้ำอยู่บนกระดาษได้ด้วยพันธะไฮโดรเจน หรือเรียกว่าแรงตึงผิวของน้ำ มีรูปร่างทรงกลมคล้ายเลนส์นูน ในภาพทดลองหยดน้ำลงบนกระดาษ วาดรูปแล้วหยดสีต่าง ๆ ลงไป กลายเป็นหยดน้ำหลากสีสวยงาม เมื่อรอให้น้ำระเหยแห้งเกิดภาพวงกลมต่างสีสวยงามตามมา