Toolbar

2022

11 items

บันไดเลื่อน เป็นสิ่งใกล้ตัวที่เราเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น ในห้างสรรพสินค้า สถานที่ทำงานอาคารสูง หรือรถไฟฟ้า-ใต้ดิน ซึ่งหัวใจการทำงานของบันไดเลื่อน คือ มอเตอร์ไฟฟ้าที่หมุนขับเคลื่อนเฟืองเกียร์พร้อมโซ่ ทำให้บันไดที่ถูกออกแบบเป็นขั้น ๆ เลื่อนเคลื่อนที่ลำเลียงผู้คนไปยังชั้นต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

แสงสว่างสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนเรามาตลอด ในอดีตมีการใช้แสงสว่างจากเปลวไฟ และแสงอาทิตย์ แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนามาเป็นหลอดไฟฟ้า หลอดไส้ หรือ หลอดอินแคนเดสเซนต์เป็นหลอดพื้นฐานที่ซื้อหาสะดวก ราคาไม่แพง มีความเป็นธรรมชาติไม่หลอกตา ทำให้เกิดความเพี้ยนของสีวัตถุที่กระทบกับแสงประเภทนี้น้อย หลักการทำงาน คือ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไส้หลอดที่มีลักษณะเป็นขดลวด จะทำให้เกิดความร้อนจนไส้หลอดแดง และเปล่งแสงสว่างออกมา ถึงแม้ว่าจะให้แสงสว่างได้ดี แต่ก็ยังคงให้แสงน้อยกว่าหลอดไฟประเภทอื่น อีกทั้งยังให้ความร้อนสูง ส่งผลทำให้อายุการใช้งานสั้น อาจทำให้ต้องเปลี่ยนหลอดไฟบ่อยครั้งกว่าการใช้หลอดประเภทอื่น

อาทิตย์ทรงกลด เป็นปรากฏการณ์ทางแสงเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศโทรโมสเฟียร์ เรียกว่า ฮาโล (Halo) มีลักษณะเป็นวงกลมสีรุ้ง เกิดจากผลึกน้ำแข็งภายในเมฆเซอร์โรสเตรตัส (Cirrostratus) เป็นเมฆชั้นสูงแผ่นบางๆ อยู่ทั่วท้องฟ้า โดยผลึกน้ำแข็งทำหน้าที่เสมือนแท่งแก้วปริซึม หักเหลำแสงจากดวงอาทิตย์เป็นมุม 22 องศา เข้าสู่แนวสายตาของผู้สังเกตการณ์ที่อยู่บนพื้นโลก ทำให้ปรากฏเป็นแถบสีสเปกตรัมของเส้นรอบวงล้อมรอบดวงอาทิตย์

เป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าส่วนหนึ่งที่ปล่อยออกจากดวงอาทิตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงในช่วงอินฟราเรด แสงที่ตามองเห็น และอัลตราไวโอเล็ต บนโลก แสงอาทิตย์ถูกกรองผ่านชั้นบรรยากาศโลก และเห็นชัดเป็นแสงกลางวันเมื่อดวงอาทิตย์อยู่เหนือเส้นขอบฟ้า แสงอาทิตย์มีสีขาว เกิดจากแสงทั้ง 7 สีมารวมกัน โดยแสงอาทิตย์จะมีความยาวคลื่นประมาณ 400-700nm แสงที่ความยาวคลื่นต่ำสุดคือสีม่วง สีน้ำเงิน จนมาถึงสีแดง ที่มีความยาวคลื่นประมาณ 700nm เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์โดยตรงไม่ถูกเมฆกั้น แสงอาทิตย์จะเป็นแสงจ้าและรังสีความร้อนประกอบกัน เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์โดยตรงถูกเมฆกั้นหรือสะท้อนออกไป โดยวัตถุอื่นจะเห็นไปแสงพร่ากระจาย เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์โดยตรงไม่ถูกเมฆกั้น แสงอาทิตย์จะเป็นแสงจ้าและรังสีความร้อนประกอบกัน เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์โดยตรงถูกเมฆกั้นหรือสะท้อนออกไปโดยวัตถุอื่น จะเห็นไปแสงพร่ากระจาย

ใยแมงมุมมีขนาด 2-3 เท่าของความยาวคลื่นของแสงในช่วงที่เรามองเห็นได้ ขนาดพอเหมาะต่อการเกิดการแทรกสอด แสงที่ตกกระทบใยแมงมุมเกิดกระเจิดกระเจิงในทุกทิศทาง คลื่นแสงบางความยาวคลื่นเคลื่อนที่ทะลุผ่านใยไปได้อย่างช้าๆ ในขณะที่บางความยาวคลื่นเคลื่อนที่ผ่านช่องว่างระหว่างใย บางความยาวคลื่นถูกสะท้อนไปมา ท้องคลื่นและสันคลื่นของแต่ละความยาวคลื่นจึงเกิดการแทรกเสริมหรือหักล้างกันอย่างพัลวัน บางความยาวคลื่นเข้มขึ้นในบางจุดเพราะการแทรกเสริม บางความยาวคลื่นจางลงเพราะหักล้างกันเอง และสีของแสงขึ้นอยู่กับความยาวคลื่นของมัน แสงแดดที่เรามองเห็นผ่านใยแมงมุมในตอนนี้ จึงไม่ได้ขาวอีกต่อไป แต่กลับเต็มไปด้วยสีสันมากมาย ตามความเข้มของยาวคลื่นผลลัพธ์เป็นความสวยงามตามธรรมชาติ ที่มีให้พบเห็นได้ทั่วไป หากคุณเปิดใจมอง

วงเวียนใหญ่คือหนึ่งในสถานที่ที่มีความสวยงามและเป็นจุด landmark สำคัญใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของประเทศไทย ซึ่งมีทั้งความสวยงาม ความทันสมัย สิ่งปลูกสร้าง การสื่อสารสำหรับการใช้ชีวิตของคนเมือง อื่นๆมากมายซึ่ง ทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นมาจากวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะมองไปทางไหนทุก ๆ อย่างก็เกิดจากวิทยาศาสตร์

รุ้งกินน้ำเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่พบเห็นได้ในช่วงหลังฝนตกและมีแดดออก โดยเกิดจากหลัก การหักเห และสะท้อนกลับหมดของแสง รุ้งกินน้ำเกิดขึ้นเมื่อแสงอาทิตย์ หรือแสงขาวตกกระทบเข้าไปในละอองน้ำที่ล่องลอยอยู่ในอากาศหลังฝนตกจะเกิดการหักเห และการสะท้อนลับหมดของแสงออกมา ทำให้แสงสีทั้ง 7 สีของแสงขาวกระจายออกจากกัน โดยมีสีเรียงจากล่างขึ้นบน คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง แต่ในบางครั้งเราก็สามารถเห็นรุ้งกินน้ำ 2 ตัวได้ในเวลาพร้อมกัน

แรงตึงผิวของของเหลว คือ แรงที่เกิดขึ้นที่ผิวของของเหลวที่เมื่อสัมผัสกับของเหลวอื่นๆหรือของแข็ง มีลักษณะคล้ายแผ่นบางๆ ที่สามารถพยุงวัตถุที่ควรจะจมน้ำ ให้สามารถลอยขึ้นอยู่บนผิวน้ำโดยไม่จมลงไปได้ เช่น เส้นลวดโลหะที่มีน้ำหนักซึ่งควรจะจมน้ำแต่กลับสามารถลอยบนผิวน้ำได้โดยอาศัยแรงตึงผิว

ทางช้างเผือก (Milky Way) กลุ่มแสงสว่างสีขาว ราวกลับก้อมเมฆในยามค่ำคืน เกิดจากดาวฤกษ์จำนวนมากที่มีรูปร่างเป็นแผ่นจาน สามารถมองเห็นในคืนเดือนมืด ในทิศ 30 องศา ลอยกว้างข้ามบนท้องฟ้า คนไทยโบราณ มีความเชื่อว่าว่ากษัตริย์เป็นเทวดามาจากสวรรค์ ช้างเผือกเป็นสัตว์คู่บุญบารมี ดังนั้นทางช้างเผือกทางเชื่อมต่อลงมาจากสวรรค์ ภาพถ่ายดังกล่าวถ่ายที่ พุทธมณฑลอีสาน จ.ขอนแก่น โดยในภาพมีพระพุทธรูปปางลีลาเป็นประธาน โดยองค์พระทำมุมตรงกับแนวของทางช้างเผือกจะเป็นความจงใจของผู้ออกแบบหรือไม่ไม่สามารถบอกได้ แต่ความเชื่อของชาวพุทธในเรื่องตำนานพระพุทธรูปลีลาที่ว่า เป็นการจำรองเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ โดยผ่านสะพานที่ทำจากเงินทองและแก้ว

ในขณะที่ตะไลล้านกำลังปลดปล่อยพลังงานออกมาอย่างรุนแรง เกรี้ยวกราด บรรดาสตาฟและผู้อยู่เบื้องหลัง ต่างก็ปลดปล่อยความกดดัน และความสุขออกมา เมื่อภาระกิจของพวกเขาสำเร็จไปอีกขึ้น นั่นคือการที่บั้งไฟล้านของพวกเขาทะยานขึ้นอยู่ท้องฟ้าได้เป็นผลสำเร็จ การจุดระเบิด การเผาไหม้ แรงดึงดูดของโลก แรงเสียดทานกับอากาศ ทั้งหมดนี้คือการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ผมาผสานเข้าด้วยกันจนเกิดสิ่งประดิษฐ์และกลายเป็นนวัตกรรมที่เรียกว่า "ตะไลล้านกุดหว้า"

มดแดงชอบสร้างรังออกไข่บนต้นมะม่วง เพราะมีใบเขี้ยวร่มครึ้มตลอดปี และมักทำรังออกไข่ใกล้แหล่งน้ำเพื่อใช้น้ำมาสร้างกรดน้ำส้มในการดำรงชีวิต มดงานสร้างรังโดยนำตัวอ่อนที่นางพญาออกไข่ อาศัยใยพิเศษที่สร้างมาจากกรดน้ำส้มมายึดโยงให้ใบไม้ติดกัน ในใบไม้จะมีแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตปะปนอยู่ เมื่อใยแห้งจะมีสีขาวเหนียวคล้ายสำลี ที่น่าทึ่งมากคือการที่มดแดงช่วยกันดึงใบ้ไม้เข้าหากันอย่างแข็งขัน ด้วยปากและกำลังขาที่แข็งแรง ในขณะที่มดงานตัวอื่นช่วยกันใช้ใยพิเศษจากตัวอ่อนเชื่อมประสานใบไม้ให้ยึดติดกันอย่างขะมักเขม้น..

โครงการประกวดภาพถ่ายวิทยาศาสตร์ "วิทย์ติดเลนส์"

อพวช. ขอเชิญชวนทุกคนร่วมกันสื่อสารวิทยาศาสตร์ ด้วยการมองสิ่งรอบตัวเป็นวิทยาศาสตร์ แล้วถ่ายภาพมาร่วมสนุกกันตาม
หัวข้อที่ทางเราตั้งเอาไว้เหมือนเป็นการแชร์ประสบการณ์ในการพบเห็นเรื่องราววิทยาศาสตร์รอบตัวแล้วมาเล่าสู่กันฟังผ่านภาพถ่าย

วิธีการส่งภาพ

ขั้นตอนการส่งภาพประกวด

1. เข้าไปที่เมนู "หัวข้อการประกวดและส่งภาพเข้าประกวด"
2. เลือกประเภท/รุ่น/หัวข้อการประกวด
3. อ่านกติกาการประกวดทั้งหมดให้ครบถ้วน
4. คลิกที่ "ส่งภาพเข้าประกวด" เพื่อเข้าสู่ลิงค์ส่งภาพ google form 

 

วิธีการโหวตภาพ

1 email เข้าโหวตได้ 1 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งจะสามารถโหวตได้อย่างน้อย 1 ภาพ และโหวตได้สูงสุดไม่เกิน 5 ภาพ

ติดต่อเรา

โทรศัพท์ 02 577 9999 ต่อ 1472 หรือ 1474

nsmphotocontest@nsm.or.th

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
39 หมู่ 3 ถ. เลียบคลองห้า ต.คลองห้า อ.คลองหลวง
จ.ปทุมธานี 12120