2022
8 items
หยาดน้ำค้าง (Drosera peltata Thunb) วงศ์ Droseraceae หนึ่งในพืชกินแมลงที่พบในประเทศไทย มีความงดงามแปลกตา บริเวณใบจะมีขนเล็ก ๆ ส่วนปลายมีหยดน้ำเหนียวใสประกายระยิบระยับ ทำไมพืชถึงกินแมลง นั่นก็เพราะว่าพืชในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่มักจะขึ้นอยู่ในพื้นที่หรือบริเวณที่แร่ธาตุสารอาหารค่อนข้างน้อย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์โดยสารอาหารที่พืชต้องการโดยหลัก ๆ ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน ที่เป็นธาตุที่สำคัญมาก ๆ ซึ่งแมลง ก็มีธาตุอาหารนี้อยู่ภายในตัว พืชเหล่านี้จึงพัฒนาใบ ที่มีความสามารถในการดักจับแมลง เพื่อดักจับและดูดซับธาตุอาหารในตัวแมลงนั่นเอง
ภาพถ่ายอิเล็กตรอนของใบกัญชาสายพันธุ์หางกระรอก โดยที่จะสังเกตเห็นลักษณะเด่นสองอย่าง 1. tall needle (ส่วนหนาม ๆ) เป็น physical defense ของใบไม้จากแมลง ที่ซึ่งเป็นแหล่งที่ผลิต CBD (Cannabidiol) 2. glandular trichome (สีชมพู) เป็น chemical defense ที่แหล่งของ THC (Tetrahydrocannabinol) ที่สูงเป็นพิเศษ ซึ่งถ้าสายพันธ์ุไหนเจอก้อนกลม ๆ เยอะ จะสามารถผลิต THC ออกมาได้เยอะ ซึ่งจะกระจายตัวไปทั่วส่วนต่างๆของต้นกัญชา ซึ่งเราจะใช้ศึกษาลักษณะกายภาพของใบกัญชาในสายแต่สายพันธุ์ว่ามีลักษณะส่วนประกอบอย่างไร จุดไหนที่น่าสนใจ เพื่อใช้ในการสกัดสารสำคัญออกมา
ภาพถ่ายของ glomerulus ของหนูทดลองที่เป็นโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อของตนเอง (Autoimmune Diseases) ที่ผ่านการย้อมด้วยสีเรืองแสง ชนิดแอนติบอดี ที่สามารถบอกถึงความแตกต่างกันของเซลล์หรือโปรตีนที่ต้องการย้อมจากสีที่แตกต่างกัน เผยให้เห็นตำแหน่งของความสำคัญ ที่สามารถบ่งบอกถึงความเป็นโรคของหนูทดลองได้โดยภาพนี้สีเขียวเป็นตัวแทนของ IgG ที่ไปสะสมใน glomerulus ทำให้เกิดความเสียหายที่ glomerulus ซึ่งเป็นอาการแสดงอย่างหนึ่งในโรคที่เกี่ยวข้องกับ Autoimmune Diseases แต่ความสวยงามของสีเขียวที่เกิดขึ้นนั้น กลับมีความคล้ายกับพระจันทร์ครึ่งเสี่ยวซึ่งบังเอิญคล้องจองกับคำว่า Moon ของ Autoimmune Diseases จึงเป็นที่มาของชื่อภาพนี้ที่ชื่อ AUTOIM-MOON
กังหันน้ำที่ปรากฏในภาพคือวัสดุประเภท 2 มิติ (Two-dimensional material) ชื่อว่าแมกซีน (MXene) ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่าง เช่น สามารถใช้เป็นวัสดุกักเก็บประจุไฟฟ้าและเป็นตัวนำไฟฟ้าในขั้วแบตเตอร์รี่ นอกเหนือไปจากนั้น แมกซีนยังสามารถใช้ในการทำให้น้ำมีความบริสุทธิ์ โดยกระบวนการ capacitive water desalination โดยปกติแล้วกระบวนการสังเคราะห์แมกซีนจะได้ผลลัพธ์เป็นแผ่นวัสดุ ที่มีขนาดของพื้นที่ผิวกว้างกว่าความหนาเกิน 1000 เท่าซึ่งก็คือส่วนที่เป็นผืนน้ำสีฟ้าที่ปรากฏในภาพ ส่วนตัวกังหันน้ำ เกิดจากการการที่วัสดุแมกซีนเกิดการ exfoliate ที่ไม่สมบูรณ์ ทำเกิดเป็น multilayer particle ที่มีด้านที่กว้างที่สุดของกังหันมีขนาดประมาณ 10 ไมโครเมตร หรือเล็กกว่าขนาดของเส้นผมมนุษย์โดยเฉลี่ยประมาณ 10 เท่า
ดอกตูมของต้นบานค่ำ (Rivea ornata) ถูกตัดตามขวาง ย้อมด้วยสีสูตรเฉพาะ ส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงที่กำลังขยาย 40 เท่า เผยให้เห็นโครงสร้างและการเรียงตัวของอวัยวะต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของดอก โดยสามัญแล้วดอกไม้จะประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ชั้น ได้แก่วงกลีบเลี้ยง วงกลีบดอก เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์มักวาดภาพชั้นทั้ง 4 ของดอก ซึ่งเรียกว่า ผังโครงสร้างดอก (floral diagram) เพื่อศึกษาและแสดงความจำเพาะของโครงสร้างดอกของพืชแต่ละชนิดที่อาจมีความเหมือนหรือแตกต่างกันออกไปซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในทางอนุกรมวิธานพืช โดยภาพนี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของผังโครงสร้างดอก ที่สร้างจากตัวอย่างพืชจริง ไม่ใช่แค่เพียงรูปวาด
โครงสร้างภายในลำต้นของพืชตามภาพตัดขวางจะมีการเรียงตัวจากด้านนอกไปยังด้านในสุดดังนี้ เอพอเดอร์มิส คอร์เทกซ์ สตีลและพิธ ภายในสตีล จะประกอบด้วยมัดท่อลำเลียงอยู่เป็นกลุ่มๆด้านในคือไซเลม เป็นท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ ด้านนอกคือโพลเอ็ม เป็นท่อลำเลียงอาหาร โดยเรียงตัวในแนวรัศมีเดียวกันมี วาสคิวลาร์ เรย์ ขั้นอยู่ระหว่างมัดท่อลำเลียงเชื่อมต่อกับคอร์เทกซ์ และ พิธ ซึ่งจะอยู่ด้านในสุด
มดแดงมีชื่อสามัญว่า The Weaver Ant ลักษณะเด่นคือ ไม่มีเหล็กใน แต่ป้องกันตัวโดยใช้สารที่ชื่อว่า กรดมด หรือ Formic Acid ที่อยู่ในส่วนท้อง (Gaster) และปล่อยออกมาทางช่องเปิดเล็กๆ ที่ปลายส่วนท้อง มีกลิ่นฉุนใช้ขับไล่ศัตรู หรือฉีดใส่บาดแผลของศัตรู ทำให้เกิดอาหารระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อน จอห์น เรย เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่สกัดกรดฟอร์มิกโดยกลั่นจากมดจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันได้นำกรดฟอร์มิกมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย ในวงการอุตสาหกรรม เช่น การฟอกหนัง การผลิตกาวลาเท็กซ์ และเป็นสารกำจัดเชื้อโรคในอาหาร
Uca annulipes เป็นปูก้ามดาบชนิดหนึ่งจากหลาย ๆ ชนิด ที่สามารถพบเห็นได้ในบริเวณป่าชายเลนหรือป่าโกงกาง และหาอาหารตอนน้ำลงในตอนเย็น ปูก้ามดาบชนิดนี้มีสีสันสวยงามสะดุดตา แต่ปูก้ามดาบเพศผู้และเพศเมียมีขนาดและรูปลักษณ์ต่างกัน ปูก้ามดาบเพศผู้มีเสน่ห์เพราะมีก้ามข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง ส่วนปูก้ามดาบเพศเมียจะมีก้ามขนาดเล็กสองข้าง ปูก้ามดาบเพศผู้ขนาดใหญ่ใช้เวลาขุดโพรงนานที่สุดเมื่อเทียบกับปูก้ามดาบเพศเมียและปูก้ามดาบตัวเล็ก