Toolbar

2021

5 items

เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) เป็นเลนส์ที่อยู่ใกล้กับแผ่นสไลด์ หรือวัตถุ ปกติติดกับแป้นวงกลมซึ่งมีประมาณ 3-4 อัน
แต่ละอันมีกำลังบอกเอาไว้ เช่น x3.2, x4, x10, x40 และ x100 ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ
แต่เดิมการศึกษาวัตถุที่มีขนาดเล็กมากใช้เพียงแว่นขยายและเลนส์อันเดียวส่องดู เช่นเดียวกับการใช้แว่นขยายส่องดูลายมือ
ในปี พ.ศ. 2208 รอเบิร์ต ฮุกได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบ ป้องกันการรบกวนจากแสงภายนอกได้
และไม่ต้องถือเลนส์ให้ซ้อนกัน ต่อมาเขาได้ส่องดูไม้คอร์กที่ฝานบาง ๆ แล้วพบช่องเล็ก ๆ มากมาย
เขาเรียกช่องเหล่านั้นว่าเซลล์ ซึ่งหมายถึงห้องว่างๆ เซลล์ที่ฮุกเห็นเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว

ภาพนี้เป็นส่วนหัวของผึ้งหลวง (Apis dorsata) ซึ่งเป็นผึ้งให้น้ำหวานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
โดยการมีขนบริเวณตาประกอบนั้นเป็นลักษณะหนึ่งของผึ้งในสกุล Apis ผึ้งหลวงมักจะสร้างรังอยู่ตามต้นไม้สูง ๆ
หน้าผาสูง หรือภายนอกของอาคารบ้านเรือนสูง ๆ ลักษณะรังจะมีชั้นเดียวทำรังในที่โล่งแจ้ง
จึงไม่สามารถนำมาเลี้ยงในหีบได้ และด้วยพฤติกรรมที่ดุกว่าผึ้งชนิดอื่นค่อนข้างมาก
ทำให้การเลี้ยงในระดับอุตสาหกรรมเป็นไปได้ยาก การจะเก็บน้ำผึ้งจากผึ้งหลวงนั้น
จำเป็นต้องตีหรือเผารังทำให้จำนวนของผึ้งหลวงปัจจุบันลดลงเป็นอย่างมาก

Salmonella spp. บนอาหารเลี้ยงเชื้อ Xylose Lycine Decabocylate agar (XLD agar) 
เป็นเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษและไข้ไทฟอยด์ โดยเชื้อมีความแตกต่างกันมากกว่า 2500 ซีโรวาร์
ลักษะที่เห็นบนอาหารเลี้ยงเชื้อนี้ มีลักษณะโคโลนี 2 ลักษณะ ได้แก่ Typical colony คือ โคโลนีกลม สีชมพูใส
มีจุดสีดำตรงกลาง และ Atypical colony คือ โคโลนีกลม สีเหลือง อาจมีหรือไม่มีมีจุดสีดําตรงกลาง
ผสมผสานกับการสร้างสรรค์การ Streak เชื้อในรูปแบบใหม่ ให้แตกต่างออกจากการ streak แบบเดิม

เมื่อประมวลภาพ 3 มิติ ของซากดึกดำบรรพ์ Premaxilla ไดโนเสาร์ซอโรพอด
โดยอาศัยความแตกต่างของความหนาแน่นระหว่างกระดูกกรามบนและฟัน
ทำให้ภาพออกมาไล่เฉดสีเหมือนกาแล็คซี่ที่มีฟันเรียงรายอยู่ภายใน โดยภายในของ Premaxilla นั้น
เผยให้เห็นฟันใหม่ที่กำลังจะขึ้นแทนที่ฟันชุดเก่าจำนวนหลายซี่
นอกจากนี้ตัวฟันยังมีลักษณะโค้งเรียวยาว ปลายมน ซ้อนเรียงกัน 

โครงการประกวดภาพถ่ายวิทยาศาสตร์ "วิทย์ติดเลนส์"

อพวช. ขอเชิญชวนทุกคนร่วมกันสื่อสารวิทยาศาสตร์ ด้วยการมองสิ่งรอบตัวเป็นวิทยาศาสตร์ แล้วถ่ายภาพมาร่วมสนุกกันตาม
หัวข้อที่ทางเราตั้งเอาไว้เหมือนเป็นการแชร์ประสบการณ์ในการพบเห็นเรื่องราววิทยาศาสตร์รอบตัวแล้วมาเล่าสู่กันฟังผ่านภาพถ่าย

วิธีการส่งภาพ

ขั้นตอนการส่งภาพประกวด

1. เข้าไปที่เมนู "หัวข้อการประกวดและส่งภาพเข้าประกวด"
2. เลือกประเภท/รุ่น/หัวข้อการประกวด
3. อ่านกติกาการประกวดทั้งหมดให้ครบถ้วน
4. คลิกที่ "ส่งภาพเข้าประกวด" เพื่อเข้าสู่ลิงค์ส่งภาพ google form 

 

วิธีการโหวตภาพ

1 email เข้าโหวตได้ 1 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งจะสามารถโหวตได้อย่างน้อย 1 ภาพ และโหวตได้สูงสุดไม่เกิน 5 ภาพ

ติดต่อเรา

โทรศัพท์ 02 577 9999 ต่อ 1472 หรือ 1474

nsmphotocontest@nsm.or.th

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
39 หมู่ 3 ถ. เลียบคลองห้า ต.คลองห้า อ.คลองหลวง
จ.ปทุมธานี 12120