2023
24 items
คำว่า รักเดียวใจเดียวหรือรักนิรันดร์ monogamy สามารถนิยามในบริบทของมนุษย์ คือ การที่คนสองคนใช้ชีวิตร่วมกันไปตลอดชีวิต โดยที่ไม่มีการนอกใจกันจากทั้งสองฝ่าย รวมถึงสัตว์ปีกโดยอ้างอิงจากงานวิจัย ร้อยละ 90 สัตว์ปีกมักจะอยู่ในระบบนี้ จากที่กล่าวมาข้างต้นการรักเดียวใจเดียวของมนุษย์หรือแม้กระทั่งนกก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างแท้จริง โดยเฉพาะกับมนุษย์ที่มีปัจจัยอื่นมาบีบบังคับ รักเดียวใจเดียวจึงไม่ใช่เรื่องง่ายจากรูปภาพจะเห็นได้ว่ามีนกอีแพรดซึ่งมีท่าทางในการปกป้องนกอีกตัวซึ่งจากพฤติกรรม นิยามได้ว่าทั้งสองอาจเป็นคู่รักกัน โดยตัวผู้กำลังปกป้องตัวเมียจากอันตรายบางอย่างจากพฤติกรรมของนกอีแพรด ทั้งคู่คงผ่านเรื่องราวมามากมายไม่ว่าจะเป็นการช่วยกันฟื้นฟูรังโดยใช้ขนหางหรือการหาอาหาร
พืชมีหลากหลายชนิด หลายสายพันธุ์ การเจริญเติบโต หรือการดำรงชีวิตอยู่ ก็อาศัยหรือเติบโตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน พืชบางชนิดอาศัยอยู่บนบกใช้ดินเป็นแหล่งของอาหารและแร่ธาตุ พืชบางชนิดอาศัยการเจริญเติบโตในน้ำ เช่น บัว เป็นพืช ใบเลี้ยงเดี่ยว มีรากอยู่ในดินใต้น้ำใบลอยอยู่เหนือผิวน้ำ ส่วนดอกจะมีก้านที่ค่อนข้างยาว เพื่อชูดอกให้สูงขึ้นอยู่เหนือน้ำกลีบดอกซ้อนกัน 2-3 ชั้น ดอกบัวเป็นดอกสมบูรณ์เพศ เนื่องจากมีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน กลางดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมาก มีก้านชูอับเรณู (filament) สีขาว, มีอับเรณู (anther) สีเหลือง ที่ปลายอับเรณูมีสีขาวคือรยางค์ (appendage) ส่วนเกสรตัวเมีย (pistil) จะอยู่ด้านในมีรูปคล้ายกรวยหงาย ภายในมีรังไข่ (ovary) อยู่เป็นจำนวนมาก
แมงกะพรุนเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อยู่ในไฟลัม ถือเป็นแพลงตอนขนาดใหญ่ เรื่องน่าอัศจรรย์ของมันคือร่างกายของมันมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากกว่า 95% ซึ่งมวลจริงๆของมันมีน้อยมากๆมันไม่มีแม้กระทั่งสมองและหัวใจแต่มันจะใช้เส้นประสาทในการรับและตอบสนองความรู้สึก มันจะเคลื่อนที่โดยการยืดหดของกล้ามเนื้อ แต่แมงกะพรุนส่วนใหญ่มักจะดำรงชีวิตตามไปกระแสน้ำเสียมากกว่าพวกมันกินอาหารจำพวกกุ้งและปลา โดยวิธีการจับเหยื่อของมันคือการใช้หนวดที่มีเข็มพิษพิเศษปล่อยเข้าสู่ร่างกายของเหยื่อ พิษของมันจะทำให้เหยื่อมีอาการสลบหรือถึงขั้นเสียชีวิต ทั้งนี้ความร้ายแรงของพิษแมงกะพรุนก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์เช่นกัน
พี่กับน้องช่วยกันยกมัดกล้าไปส่งให้พ่อกับแม่ดำนา ในทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือ การใช้แรงลัพธ์ในชีวิตประจำวัน พวกเขาทั้งสองช่วยกันยกมัดกล้าพร้อม ๆ กันและไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ต้นกล้าเคลื่อนที่ไปยังจุดหมายได้ นอกจากนี้พวกเขาทั้งสองยังใช้ไม้ไผ่เป็นคานวางพาดมัดกล้าอย่างเป็นระเบียบ ยกตั้งอยู่ในระนาบเดียวกันเพื่อให้เกิดความสมดุลของแรง ดูมัดกล้าที่วางเรียงรายใกล้พวกเขานั่นสิ ถูกตัดใบออกและผ่านการแช่น้ำมาแล้วประมาณ 1-2 คืน เพื่อกระตุ้นการงอกของต้นข้าว อีกทั้งยังทำให้ต้นข้าวแข็งแรงอีกด้วยนะ
แมลงจัดเป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่มีดวงตาขนาดใหญ่ แต่จริงๆแล้วดวงตาของแมลงนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ตาเดี่ยว (simple eye หรือ ocelli) และตารวม (compound eye)โดยตารวมนั้นประกอบไปด้วยเลนส์ตาขนาดเล็กที่มีลักษณะเป็นรูปทรงหกเหลี่ยมจำนวนมากมาเรียงต่อกันเป็นดวงตาขนาดใหญ่ 2 ดวงเป็นรูปแบบของดวงตาที่พบได้ในแมลงเกือบทุกชนิด ทำหน้าที่ในการรับภาพเคลื่อนไหว ในขณะที่ตาเดี่ยวนั้นจะมีลักษณะโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อนเหมือนดวงตารวมและพบในแมลงบางชนิดหรือในบางอันดับเท่านั้น ตาเดี่ยวของแมลง จะมีหน้าที่ในการรับรู้ถึงระดับความเข้มของแสง โดยปกติแมลงนั้นจะมีตาเดี่ยว 2-3 ตาและมักจะตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างดวงตารวมทั้ง 2 ข้าง ดวงตาของแมลงมีความสามารถในการรับคลื่นแสงของสีได้ในช่วงที่สั้นกว่าการมองเห็นของมนุษย์
ปรากฏการณ์ธรรมชาติทินดอลล์ "Tyndall Effect" ถูกค้นพบโดย จอห์น ทินดอลล์ นักฟิสิกส์ชาวไอร์แลนด์ ได้อธิบายปรากฏการณ์นี้ว่าเป็นปรากฏการณ์การกระเจิงแสงจะเกิดขึ้นเมื่อแสงผ่านตัวกลางซึ่งมีอนุภาคเป็นคอลลอยด์ เมื่อแสงกระทบอนุภาคคอลลอยด์จึงเกิดการกระเจิงของแสง ทำให้มองเห็นเป็นลำแสงสีทองทะลุผ่านเมฆ โดยปรากฏการณ์นี้มักจะพบในช่วงเช้าตรู่ ช่วงดวงอาทิตย์ตกดิน หรือมีชั้นเมฆหนาทึบหลังฝนตก หรืออาจจะเป็นลำแสงจากมนุษย์ต่างดาวส่องลงมายังโลกก็ได้
การเชิดมังกรเป็นรูปแบบการเต้นรำที่สืบทอดมาและถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของวัฒนธรรมจีนโดยใช้หลักการเคลื่อนไหวในรูปแบบของคลื่นเกิดจากการแกว่งประสานกันระหว่างแต่ละส่วนอย่างต่อเนื่อง การเคลื่อนไหวลักษณะคลื่นนี้ถือเป็นการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานของมังกร ส่วนการเคลื่อนไหวแบบอื่นที่ซับซ้อนและยากขึ้นก็ขึ้นอยู่กับการสร้างสรรค์ของแต่ละทีมซึ่งอาจจะนําเทคนิคการใช้ไฟมาร่วมด้วยเพื่อเพิ่มความตื่นตาตื่นใจมากขึ้น
ทะเลเป็นสิ่งสำคัญในวัฏจักรน้ำ และวัฏจักรคาร์บอนและยังเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตของมนุษ์เราอีกด้วย เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลและยังเป็นแหล่งอาหารสำคัญของคนในชุมชน ซึ่งเป็นชาวประมงที่พักอาศัย ชายฝั่งทะเลขยะที่เห็นในภาพ เป็นขยะที่รั่วไหลมาตามแม่น้ำมี กลองขยะขนาดใหญ่ลอยมาจึงส่งผลให้มีขยะเกยขึ้นมาบนชายฝั่งซึ่งทะเลนั้นเป็นแหล่งทรัพยากรอุดมสมบูรณ์มีคุณค่าด้านนิเวศวิทยาและเศรษฐกิจ หากปล่อยปละละเลยทิ้งขยะ ซึ่งเป็นน้ำมือของมนุษย์ หากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นผงไมโครพลาสติกปนเปื้อนระบบนิเวศมาเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ หากแต่เพียงแยกขยะไว้เพื่อนำมารีไซเคิลให้ถูกต้องภาพดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้น จากภาพสื่อให้ผู้คนเห็นแล้วตระหนักให้เปลื่ยนเป็นพลังเป็นจิตสำนึก
พลาสมาบอลเป็นอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นตาตื่นใจที่ดึงดูดจินตนาการของเราและให้ภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจ การสร้างสรรค์อันน่าหลงใหลเหล่านี้ไม่เพียงแต่มีความสวยงามเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือเพื่อการศึกษาและวิทยาศาสตร์ โลกของฟิสิกส์ของพลาสมาและปรากฏการณ์ทางไฟฟ้า หลักการทำงานเบื้องหลังเม็ดพลาสมานั้นเกี่ยวข้องกับแนวคิดของก๊าซไอออไนซ์หรือพลาสมา ภายในทรงกลมแก้วของพลาสมาบีดมีก๊าซความดันต่ำ ซึ่งแตกตัวเป็นไอออนได้โดยใช้สนามไฟฟ้าแรงสูงความถี่สูง กระบวนการไอออไนเซชันทำให้ก๊าซปล่อยลำแสงหลากสีสันออกมา ทำให้เกิดภาพที่สวยงามน่าทึ่ง ลำแสงเหล่านี้เคลื่อนไปตามเส้นทางที่มีแรงต้านน้อยที่สุด เคลื่อนที่ไปยังบริเวณที่มีความดันหรือการนำไฟฟ้าต่ำทำให้เกิดรูปแบบที่ซับซ้อนซึ่งตอบสนองต่อการสัมผัสหรือระยะใกล้
"หนังใหญ่" เป็นมรดกไทยที่นำศิลปวัฒนธรรมไทยหลายแขนงไม่ว่าจะเป็น หัตถศิลป์ นาฏศิลป์ วรรณศิลป์ และอื่นๆมาผสมกับการใช้แสงและเงาในการแสดงเอกลักษณ์ของหนังใหญ่ คือ "ตัวหนัง"ที่ทำจากหนังโคและกระบือมาฉลุและสลักเป็นตัวละครต่างๆ เมื่อทำเสร็จตัวหนังจะมีความโปร่งแสงเรียกว่า "หนังแก้ว" อดีตจะจุดไฟกะลามะพร้าวให้เกิดแสงจากด้านหลังฉาก แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นไฟสปอร์ตไลท์ตามยุคสมัย เพื่อให้เวลาเชิดแผ่นหนังหน้าฉากผู้ชมจะเห็นสี ลวดลายของตัวหนังที่โปร่งแสงได้สว่างและคมชัดมากยิ่งขึ้นยกเว้นสีดำที่มีความทึบแสง แสงไม่สามารถผ่านไปได้ นอกจากนี้เราจะเห็นคนเชิดเป็นเงาเพราะมีแหล่งกำเนิดแสงอยู่ด้านหลัง ทำให้จุดสายตาอยู่ที่ตัวหนังที่มีสีสันและลวดลายที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยที่ไม่เหมือนกับชาติใดในโลก
ฟ้าผ่า เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติโดยสามารถอธิบายผ่านหลักการทางวิทยาศาสตร์ ได้ว่า ฟ้าผ่านั้นเกิดขึ้นจากอิเล็กตรอนจำนวนมากเคลื่อนที่กันไปมาระหว่างเมฆกับเมฆหรือระหว่างเมฆกับพื้นโลก ซึ่งเมื่อพูดถึงฟ้าผ่าแล้ว ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ่อยจนน้อยคนที่จะมองเห็นความสวยงามและความยิ่งใหญ่ที่แท้จริงของมัน
เลนส์นูนคือ เลนส์ที่บริเวณขอบมีลักษณะบาง แต่บริเวณส่วนกลางของเลนส์นั้นหนากว่า การทำงานของเลนส์นูนอาศัยหลักการหักเหของแสง ที่จะหักเหเข้าหาแนวเส้นตั้งฉาก โดยทั่วไปเลนส์นูนมีคุณสมบัติรวมแสง หรือทำให้แสงที่ส่องผ่านเลนส์นูนทำมุมกันแคบเข้ามา จนอาจมารวมกันเป็นจุดจุดเดียวหรือที่เรียกว่าจุดโฟกัส ซึ่งภาพที่ได้จากเลนส์นูนอาจเป็นภาพจริงหัวกลับหรือภาพเสมือนหัวตั้ง ขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างวัตถุกับเลนส์
ปรากฎการฟ้าแลบ หรือฟ้าผ่าเป็นปรากฎการทางธรรมชาติที่เราเห็นได้เป็นปกติ ในชีวิตประจำวันช่วงที่เกิดฝนตก ฝนฟ้าคะนอง ซึ่งเกิดจากปรากฎการณ์ทางไฟฟ้าในก้อนเมฆ เกิดเป็นแสงสว่างวาบขึ้นมาเป็นแสงสว่าง หรือเป็นเส้นสาย เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม แต่ก็แฝงไปด้วยอันตรายด้วย
งูสายม่านพระอินทร์มักออกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน แต่กลางคืนเคยพบออกล่าจับปาดเป็นอาหารอยู่เหมือนกัน อาหารของงูสายม่านพระอินทร์ที่พบเห็นขณะล่าเหยื่อ ได้แก่ ปาด เขียด จิ้งจก เราทราบตำแหน่งของงูสายม่านพระอินทร์ทันทีที่ได้ยินเสียงเหยื่อร้อง เพื่อเอาชีวิตรอด จากการเขมือบดึงรัดตวัดเกี่ยวเพื่อให้เท้า "ปาด" หลุดจากสิ่งยึดเกาะ (ส่วนหัวจะกลืนเข้าไปก่อน) เหยื่อไม่เคยหลุดรอดสักราย ขณะขย้ำเหยื่อคาปากกล้ามเนื้อบริเวณปากจะถูกขยาย งูสายม่านพระอินทร์สามารถอ้าปากได้กว้างเพราะระหว่างขากรรไกรล่างซ้ายและขวาไม่ยึดติดกัน ทำให้อ้าปากได้กว้างและกินเหยื่อขนาดใหญ่ได้
ถ้ำธารน้ำแข็ง เกิดจากการทับถมของหิมะที่มีการคลื่อนที่จากภูเขาสูงสู่ที่ต่ำ ด้วยน้ำหนักของหิมะที่ทับถมการเป็นจำนวนมาก หิมะจึงการอัดแน่นและกลายเป็น เม็ดหิมะและหิมะน้ำแข็ง ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดน้ำแข็งขนาดเล็ก อย่างไรก็ตามกระบวนการทั้งหมดนี้ เป็นกระบวนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและใช้เวลานานหลายร้อยปี ถึงแม้ว่าธารน้ำแข็งจะดูเป็นเรื่องไกลตัวและไม่สำคัญต่อคนส่วนใหญ่ แต่ความจริงแล้วมันมีความสำคัญกว่าที่เราคิด เพราะการดำเนินชีวิตของเราในแต่ละวันล้วนมีผลต่อการลดขนาดของธารน้ำแข็งนี้การปล่อยสารพิษและการทำลายทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการดำเนินชีวิตของเราเป็นปัจจัยหลัก ในการสร้างสภาวะโลกร้อน ถ้าพวกเรายังใช้ชีวิตโดยไม่คำนึงถึงความสำคัญของธรรมชาติรอบตัวเรา ในไม่ช้าคงจะไม่เหลือถ้ำธารน้ำแข็งให้พวกเราได้เห็นอีก
ภาพมหัศจรรย์เหนือเมืองเชียงใหม่ในยามค่ำคืนของฤดูฝน คือภาพเงาของพระธาตุ ดอยสุเทพ ซึ่งเกิดจากการกระเจิงแสงของกลุ่มเมฆหรือหมอกซึ่งต้นกำเนิดแสงมาจากแสงสป๊อตไลท์กำลังสูงที่ฉายพาดผ่านองค์พระธาตุทำให้เกิดเป็นเงาและมีฉากรับภาพเป็นกลุ่มเมฆหมอกบนท้องฟ้า
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หรือภาวะ Sepsis คร่าเสียชีวิตคนไทย มากกว่า 5 คน ในทุก ๆ 1 ชั่วโมง สิ่งสำคัญในการช่วยลดการเสียชีวิตของผู้ป่วย คือ การหาชนิดของเชื้อก่อโรค และการให้ยาฆ่าเชื้อให้เร็วที่สุดผ่านกระบวนการการเพาะเลี้ยงเชื้อ โดยใช้ Agar (อาหารเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย) หลากหลายสี ซึ่งผลิตจากสารสกัดจากสาหร่ายทะเลสีแดง แล้วนำมาทำแห้ง agar เป็นสารซัลโฟเนตมิวโคพอลิแซ็กคาร์ไรด์ (sulphonatedmucopolysaccharide) โดยแบคทีเรียต่างชนิดกันมีความต้องการสารอาหาร ตลอดจนสภาพความเป็นกรดด่าง (pH) ของอาหารแตกต่างกัน เช่น สีแดงสด คือ Blood agar เป็นการใช้อาหารวุ้นที่เติมเลือด สีชมพู คือ MacConkey agar
การสะสมของ Amyloid beta เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสื่อมของสมองในโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งพบมากที่สุดในผู้สูงอายุ ผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การสะสมของ Amyloid beta ก่อให้เกิดการอักเสบของระบบประสาทที่ทำให้เซลล์ค้ำจุน เช่น ไมโครเกลีย เกิดการฟาโกไซโทซิสเซลล์สมอง (การกลืนกินของเซลล์) ในภาพนี้นักวิจัยใช้หนูที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้เป็นโรคอัลไซเมอร์และกล้องจุลทรรศน์ขยาย 60 เท่าเพื่อสังเกตรายละเอียดที่ศูนย์กลางของเซลล์สมอง (เขียว) ที่มี Amyloid beta (แดง) สะสมรอบเซลล์ และไมโครเกลีย (ชมพู) ที่กำลังฟาโกไซโทซิสเซลล์สมอง ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในสมองส่วน Hippocampus ที่เป็นส่วนสำคัญมากในระบบความจำ แสดงให้เห็นว่าการอักเสบของระบบประสาทเป็นหนึ่งในกลไกลสำคัญที่ส่งผลต่อความจำเสื่อมในโรคอัลไซเมอร์
เป็นกลุ่มแบคทีเรีย Streptococcus ที่ลอยตัวในน้ำนม ที่กำลังหมัก ซึ่งมีแลคโตส กลูโคส โปรตีน ไขมันเป็นส่วนประกอบ กำลังเข้าสู่ วัฏจักร Tricarboxylic acid cycle เพื่อผลิต Exopolysaccharides, EPS ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์หมักมีความหนืด เนียนเรียบและเป็นครีม ส่งผลให้แบคทีเรียทนต่อสภาวะที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การเปลี่ยนแปลงค่า pH และแรงดันออสโมติกสูง (osmotic pressure) จากรูปจะเห็นลอยตัวในเนื้อที่ยืด ๆ เหนียว คล้าย ๆ กับกลุ่มก้อนเนบิวลาที่ฟุ้งไปทั่วพื้นพื้นหลังอวกาศ
ตาประกอบและก้านตา 2 คู่ รยางค์ปาก 5 คู่ และรยางค์ขา 5 คู่ ลำตัวปกคลุมด้วยกระดองด้านบน และมีแผ่นท้องหรือ "จับปิ้ง" ปกคลุมด้านล่าง เป็นอวัยวะของเอ็มบริโอช่วงสุดท้ายในสัตว์กลุ่มปู เรียกว่าระยะ megalopa กว่า 80% ของสัตว์กลุ่มปูอาศัยอยู่ในทะเล และมีเอ็มบริโอระยะ zoea และ megalopa อยู่นอกไข่ หากินและล่องลอยในทะเล เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ แต่ไม่ใช่สำหรับปูนาหรือปูน้ำจืดที่พบมากในประเทศไทย ซึ่งอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำมากบ้าง น้อยบ้าง ไม่มีความแน่นอน ไม่เหมาะต่อการดำรงชีวิตของเอ็มบริโอในรูปแบบแพลงก์ตอนสัตว์ การเจริญในระยะเอ็มบริโอของปูนาจึงถูกธรรมชาติคัดสรรให้เจริญอยู่ภายในไข่ปู เรียกว่า egg-zoea และ egg-megalopa จึงต้องใช้เทคนิคพิเศษในการถ่ายภาพลักษณะเอ็มบริโอภายในไข่ปูที่มีขนาดเล็กเพียง 1 มม.
ภาพถ่ายมิญชวิทยาของผิวหนังของหิ้งห้อย Sclerotia aquatilis จากบริเวณลำตัว แสดงถึงความสวยงามและมุมมองศิลปะทางเนื้อเยื่อ ผ่านการขับเคลื่อนด้วยธรรมชาติและพื้นที่อาศัยของหิ้งห้อยจากการพิจารณาแนวตัดตามยาว พบว่าสามารถจำแนกผิวหนังประกอบด้วยชั้น exocuticle หนาและเด่นชัด พร้อมทั้งมีโครงสร้างเด่นคล้ายหกเหลี่ยมและสังเกตเห็นตรงกลางภาพ มีการจัดเรียงคล้ายดอกไม้ที่ไม่ผ่านการปรุงแต่ง ถัดมาเป็น endocutile ที่มีต่อมผิวหนัง (dermal gland) ขนานกับชั้น exocuticle มีลักษณะรูปร่างกลม และมีเซลล์ติดสีม่วงเรียงต่อกัน เชื่อว่ามีหน้าที่สร้างคิวติเคิลรองรับการทำงานของระบบผิวหนังของหิ้งห้อย
ในป่าช่วงเช้าที่มีความชื้นค่อนข้างสูง เราอาจจะพบใยของแมงมุมนั้นมีหยาดน้ำค้างใส ๆ เกาะอยู่เป็นจำนวนมาก แต่แม้ว่าจะมีหยาดน้ำค้างเกาะอยู่บนใยก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวของมันเท่าไหร่นัก เพราะสัญชาตญาณตามธรรมชาติของแมงมุมนั้นย่อมรู้ดีว่า เส้นใยที่สร้างขึ้นนั้นมีส่วนที่เป็นโครงสร้างเพื่อใช้ในการเคลื่อนไหวอยู่บริเวณใด จึงทำให้ แมงมุมไม่เดินไปติดใยเหนียว ๆ ของตัวมันเอง ในขณะเดียวกันนั้นหยาดน้ำค้างที่อยู่บนใยของพวกมัน เมื่อกระทบเข้ากับแสงจะทำให้เกิดการสะท้อน ส่งผลให้แมลงขนาดเล็กที่อาจมีความไวต่อแสงสีถูกล่อให้เข้ามาติดกับดักของมันและถูกจับกินเป็นอาหารได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งเป็นผลพวงที่แมงมุมนั้นได้รับประโยชน์จากธรรมชาติอย่างแท้จริง
จุ้งแห้ง หรือกุ้งแห้ง อาหารที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี เป็นส่วนประกอบในอาหารหลากหลายชนิด เช่น ส้มตำไทย น้ำปลาหวาน เป็นต้น ทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่า ในกุ้งแห้งที่เรารับประทานนั้นมีธาตุใดอยู่บ้าง จะมีโลหะหนักอย่างที่เคยเห็นในข่าวหรือไม่? คำตอบมีอยู่ที่นี่แล้ว ด้วยการใช้เทคนิคการเรืองรังสีเอกซ์ (XRF) ทำให้เราเห็นถึงการสะสมและกระจายตัวของธาตุต่างๆ ในกุ้งแห้ง ทุกคนมาช่วยกันสังเกตสิ ว่ากุ้งนี้ปลอดภัยหรือไม่?
หยดน้ำอยู่บนกระดาษได้ด้วยพันธะไฮโดรเจน หรือเรียกว่าแรงตึงผิวของน้ำ มีรูปร่างทรงกลมคล้ายเลนส์นูน ในภาพทดลองหยดน้ำลงบนกระดาษ วาดรูปแล้วหยดสีต่าง ๆ ลงไป กลายเป็นหยดน้ำหลากสีสวยงาม เมื่อรอให้น้ำระเหยแห้งเกิดภาพวงกลมต่างสีสวยงามตามมา