ในป่าช่วงเช้าที่มีความชื้นค่อนข้างสูง เราอาจจะพบใยของแมงมุมนั้นมีหยาดน้ำค้างใส ๆ เกาะอยู่เป็นจำนวนมาก แต่แม้ว่าจะมีหยาดน้ำค้างเกาะอยู่บนใยก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวของมันเท่าไหร่นัก เพราะสัญชาตญาณตามธรรมชาติของแมงมุมนั้นย่อมรู้ดีว่า เส้นใยที่สร้างขึ้นนั้นมีส่วนที่เป็นโครงสร้างเพื่อใช้ในการเคลื่อนไหวอยู่บริเวณใด จึงทำให้ แมงมุมไม่เดินไปติดใยเหนียว ๆ ของตัวมันเอง ในขณะเดียวกันนั้นหยาดน้ำค้างที่อยู่บนใยของพวกมัน เมื่อกระทบเข้ากับแสงจะทำให้เกิดการสะท้อน ส่งผลให้แมลงขนาดเล็กที่อาจมีความไวต่อแสงสีถูกล่อให้เข้ามาติดกับดักของมันและถูกจับกินเป็นอาหารได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งเป็นผลพวงที่แมงมุมนั้นได้รับประโยชน์จากธรรมชาติอย่างแท้จริง

เจ้าของผลงาน : สหรัฐ เกชาคุปต์

โครงการประกวดภาพถ่ายวิทยาศาสตร์ "วิทย์ติดเลนส์"

อพวช. ขอเชิญชวนทุกคนร่วมกันสื่อสารวิทยาศาสตร์ ด้วยการมองสิ่งรอบตัวเป็นวิทยาศาสตร์ แล้วถ่ายภาพมาร่วมสนุกกันตาม
หัวข้อที่ทางเราตั้งเอาไว้เหมือนเป็นการแชร์ประสบการณ์ในการพบเห็นเรื่องราววิทยาศาสตร์รอบตัวแล้วมาเล่าสู่กันฟังผ่านภาพถ่าย

วิธีการส่งภาพ

ขั้นตอนการส่งภาพประกวด

1. เข้าไปที่เมนู "หัวข้อการประกวดและส่งภาพเข้าประกวด"
2. เลือกประเภท/รุ่น/หัวข้อการประกวด
3. อ่านกติกาการประกวดทั้งหมดให้ครบถ้วน
4. คลิกที่ "ส่งภาพเข้าประกวด" เพื่อเข้าสู่ลิงค์ส่งภาพ google form 

 

วิธีการโหวตภาพ

1 email เข้าโหวตได้ 1 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งจะสามารถโหวตได้อย่างน้อย 1 ภาพ และโหวตได้สูงสุดไม่เกิน 5 ภาพ

ติดต่อเรา

โทรศัพท์ 02 577 9999 ต่อ 1472 หรือ 1474

nsmphotocontest@nsm.or.th

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
39 หมู่ 3 ถ. เลียบคลองห้า ต.คลองห้า อ.คลองหลวง
จ.ปทุมธานี 12120