ประกาศผลการตัดสิน Image of Science วิจิตร วิจัย ประเภทยอดเยี่ยม ประจำปี 2565

 

ประกาศผลประกวดภาพการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ จากโครงการ "วิจิตร วิจัย"

ประเภทยอดเยี่ยม

----------

 เจ้าหน้าที่จะส่งรายละเอียดไปให้ทางอีเมล 

และหากท่านไม่ได้รับอีเมล ภายใน วันทำการ (ไม่รวม วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการ)
ให้แจ้งที่ 
FB  NSMThailand 

หากพ้นกำหนดนี้จะถือว่าท่านสละสิทธิ์ในการรับรางวัล

----------

1. รางวัลชนะเลิศ

สรรเพชร จินดาทอง

IE22114 พชกนแมลง res

 

ชื่อภาพ: พืชกินแมลง

หยาดน้ำค้าง (Drosera peltata Thunb) วงศ์ Droseraceae หนึ่งในพืชกินแมลงที่พบในประเทศไทย มีความงดงามแปลกตา บริเวณใบจะมีขนเล็ก ๆ

ส่วนปลายมีหยดน้ำเหนียวใสประกายระยิบระยับ ทำไมพืชถึงกินแมลง นั่นก็เพราะว่าพืชในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่มักจะขึ้นอยู่ในพื้นที่หรือบริเวณที่แร่ธาตุสารอาหารค่อนข้างน้อย 

ดินขาดความอุดมสมบูรณ์โดยสารอาหารที่พืชต้องการโดยหลัก ๆ ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน ที่เป็นธาตุที่สำคัญมาก ๆ

ซึ่งแมลง ก็มีธาตุอาหารนี้อยู่ภายในตัว พืชเหล่านี้จึงพัฒนาใบ ที่มีความสามารถในการดักจับแมลง เพื่อดักจับและดูดซับธาตุอาหารในตัวแมลงนั่นเอง

2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

ปฐมภูมิ นิ้วยะวงศ์

IE2282 ไอตาว สชมพ THC cannabis res

 

ชื่อภาพ: ไอ้ต้าว สีชมพู (THC cannabis)

ภาพถ่ายอิเล็กตรอนของใบกัญชาสายพันธุ์หางกระรอก โดยที่จะสังเกตเห็นลักษณะเด่นสองอย่าง 1. tall needle (ส่วนหนาม ๆ) เป็น physical defense

ของใบไม้จากแมลง ที่ซึ่งเป็นแหล่งที่ผลิต CBD (Cannabidiol) 2. glandular trichome (สีชมพู) เป็น chemical defense ที่แหล่งของ THC (Tetrahydrocannabinol)

ที่สูงเป็นพิเศษ ซึ่งถ้าสายพันธ์ุไหนเจอก้อนกลม ๆ เยอะ จะสามารถผลิต THC ออกมาได้เยอะ ซึ่งจะกระจายตัวไปทั่วส่วนต่างๆของต้นกัญชา

ซึ่งเราจะใช้ศึกษาลักษณะกายภาพของใบกัญชาในสายแต่สายพันธุ์ว่ามีลักษณะส่วนประกอบอย่างไร จุดไหนที่น่าสนใจ เพื่อใช้ในการสกัดสารสำคัญออกมา

 

3. รองชนะเลิศอันดับ 2

อิสรา อาลี

IE22124 AUTOIM MOON res

 

ชื่อภาพ: AUTOIM-MOON

ภาพถ่ายของ glomerulus ของหนูทดลองที่เป็นโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อของตนเอง (Autoimmune Diseases) ที่ผ่านการย้อมด้วยสีเรืองแสง

ชนิดแอนติบอดี ที่สามารถบอกถึงความแตกต่างกันของเซลล์หรือโปรตีนที่ต้องการย้อมจากสีที่แตกต่างกัน เผยให้เห็นตำแหน่งของความสำคัญ

ที่สามารถบ่งบอกถึงความเป็นโรคของหนูทดลองได้โดยภาพนี้สีเขียวเป็นตัวแทนของ IgG ที่ไปสะสมใน glomerulus

ทำให้เกิดความเสียหายที่ glomerulus ซึ่งเป็นอาการแสดงอย่างหนึ่งในโรคที่เกี่ยวข้องกับ Autoimmune Diseases

แต่ความสวยงามของสีเขียวที่เกิดขึ้นนั้น กลับมีความคล้ายกับพระจันทร์ครึ่งเสี่ยวซึ่งบังเอิญคล้องจองกับคำว่า

Moon ของ Autoimmune Diseases จึงเป็นที่มาของชื่อภาพนี้ที่ชื่อ AUTOIM-MOON

 

4. รางวัลชมเชย/ขวัญใจกรรมการ

คณิต หาญตนศิริสกุล

IE2298 MXene watermill res

 

ชื่อภาพ: MXene watermill

กังหันน้ำที่ปรากฏในภาพคือวัสดุประเภท 2 มิติ (Two-dimensional material) ชื่อว่าแมกซีน (MXene) ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่าง

เช่น สามารถใช้เป็นวัสดุกักเก็บประจุไฟฟ้าและเป็นตัวนำไฟฟ้าในขั้วแบตเตอร์รี่ นอกเหนือไปจากนั้น แมกซีนยังสามารถใช้ในการทำให้น้ำมีความบริสุทธิ์ 

โดยกระบวนการ capacitive water desalination โดยปกติแล้วกระบวนการสังเคราะห์แมกซีนจะได้ผลลัพธ์เป็นแผ่นวัสดุ

ที่มีขนาดของพื้นที่ผิวกว้างกว่าความหนาเกิน 1000 เท่าซึ่งก็คือส่วนที่เป็นผืนน้ำสีฟ้าที่ปรากฏในภาพ ส่วนตัวกังหันน้ำ

เกิดจากการการที่วัสดุแมกซีนเกิดการ exfoliate ที่ไม่สมบูรณ์ ทำเกิดเป็น multilayer particle ที่มีด้านที่กว้างที่สุดของกังหันมีขนาดประมาณ

10 ไมโครเมตร หรือเล็กกว่าขนาดของเส้นผมมนุษย์โดยเฉลี่ยประมาณ 10 เท่า

 

4. รางวัลพิเศษ

(ได้รับโดรน เป็นของรางวัล)

นัฐพงษ์ จิตรจักร

IE22181 Living Version of Floral Diagram res

 

ชื่อภาพ: Living Version of Floral Diagram

ดอกตูมของต้นบานค่ำ (Rivea ornata) ถูกตัดตามขวาง ย้อมด้วยสีสูตรเฉพาะ ส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงที่กำลังขยาย 40 เท่า

เผยให้เห็นโครงสร้างและการเรียงตัวของอวัยวะต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของดอก โดยสามัญแล้วดอกไม้จะประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ชั้น

ได้แก่วงกลีบเลี้ยง วงกลีบดอก เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์มักวาดภาพชั้นทั้ง 4 ของดอก ซึ่งเรียกว่า

ผังโครงสร้างดอก (floral diagram) เพื่อศึกษาและแสดงความจำเพาะของโครงสร้างดอกของพืชแต่ละชนิดที่อาจมีความเหมือน

หรือแตกต่างกันออกไปซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในทางอนุกรมวิธานพืช โดยภาพนี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของผังโครงสร้างดอก

ที่สร้างจากตัวอย่างพืชจริง ไม่ใช่แค่เพียงรูปวาด

 

 ----------

เจ้าหน้าที่จะส่งรายละเอียดไปให้ทางอีเมล
และหากท่านไม่ได้รับ อีเมล รายละเอียดการรับรางวัลภายใน วันทำการ ให้แจ้งที่ FB  NSMThailand 
หากพ้นกำหนดนี้จะถือว่าท่านสละสิทธิ์ในการรับรางวัล

  

 

 

 

 

 

 

 

 

Read 5577 times

โครงการประกวดภาพถ่ายวิทยาศาสตร์ "วิทย์ติดเลนส์"

อพวช. ขอเชิญชวนทุกคนร่วมกันสื่อสารวิทยาศาสตร์ ด้วยการมองสิ่งรอบตัวเป็นวิทยาศาสตร์ แล้วถ่ายภาพมาร่วมสนุกกันตาม
หัวข้อที่ทางเราตั้งเอาไว้เหมือนเป็นการแชร์ประสบการณ์ในการพบเห็นเรื่องราววิทยาศาสตร์รอบตัวแล้วมาเล่าสู่กันฟังผ่านภาพถ่าย

วิธีการส่งภาพ

ขั้นตอนการส่งภาพประกวด

1. เข้าไปที่เมนู "หัวข้อการประกวดและส่งภาพเข้าประกวด"
2. เลือกประเภท/รุ่น/หัวข้อการประกวด
3. อ่านกติกาการประกวดทั้งหมดให้ครบถ้วน
4. คลิกที่ "ส่งภาพเข้าประกวด" เพื่อเข้าสู่ลิงค์ส่งภาพ google form 

 

วิธีการโหวตภาพ

1 email เข้าโหวตได้ 1 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งจะสามารถโหวตได้อย่างน้อย 1 ภาพ และโหวตได้สูงสุดไม่เกิน 5 ภาพ

ติดต่อเรา

โทรศัพท์ 02 577 9999 ต่อ 1472 หรือ 1474

nsmphotocontest@nsm.or.th

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
39 หมู่ 3 ถ. เลียบคลองห้า ต.คลองห้า อ.คลองหลวง
จ.ปทุมธานี 12120