
chonlaphat kalamphanan
ประกาศผลการตัดสิน Image of Science วิจิตร วิจัย ประเภทยอดนิยม ประจำปี 2565
on: 29 เมษายน 2565
ประกาศผลประกวดภาพการทำงานด้านวิทยาศาสตร์
ประเภทยอดนิยม จากโครงการ "วิจิตร วิจัย"
----------
เจ้าหน้าที่จะส่งรายละเอียดไปให้ทางอีเมล และหากท่านไม่ได้รับอีเมล ภายใน 3 วันทำการ (ไม่รวม วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการ)
ให้แจ้งที่ FB NSMThailand
หากพ้นกำหนดนี้จะถือว่าท่านสละสิทธิ์ในการรับรางวัล
----------
1. รางวัลชนะเลิศ
ตะวันฉาย จิระเจริญสุวรรณ
ชื่อภาพ: PINE TREE STEM (ลำต้นของต้นสน)
โครงสร้างภายในลำต้นของพืชตามภาพตัดขวางจะมีการเรียงตัวจากด้านนอกไปยังด้านในสุดดังนี้ เอพอเดอร์มิส คอร์เทกซ์ สตีลและพิธ ภายในสตีล
จะประกอบด้วยมัดท่อลำเลียงอยู่เป็นกลุ่มๆด้านในคือไซเลม เป็นท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ ด้านนอกคือโพลเอ็ม เป็นท่อลำเลียงอาหาร
โดยเรียงตัวในแนวรัศมีเดียวกันมี วาสคิวลาร์ เรย์ ขั้นอยู่ระหว่างมัดท่อลำเลียงเชื่อมต่อกับคอร์เทกซ์ และ พิธ ซึ่งจะอยู่ด้านในสุด
2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
รวิภาส ถึงสุข
ชื่อภาพ: มดที่ไม่ได้มีดีแค่กัดเจ็บ
มดแดงมีชื่อสามัญว่า The Weaver Ant ลักษณะเด่นคือ ไม่มีเหล็กใน แต่ป้องกันตัวโดยใช้สารที่ชื่อว่า กรดมด หรือ Formic Acid ที่อยู่ในส่วนท้อง (Gaster)
และปล่อยออกมาทางช่องเปิดเล็กๆ ที่ปลายส่วนท้อง มีกลิ่นฉุนใช้ขับไล่ศัตรู หรือฉีดใส่บาดแผลของศัตรู ทำให้เกิดอาหารระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อน
จอห์น เรย์ เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่สกัดกรดฟอร์มิกโดยกลั่นจากมดจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันได้นำกรดฟอร์มิกมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย
ในวงการอุตสาหกรรม เช่น การฟอกหนัง การผลิตกาวลาเท็กซ์ และเป็นสารกำจัดเชื้อโรคในอาหารสัตว์
3. รองชนะเลิศอันดับ 2
หทัยภัทร กาญจนศรีเมฆ
ชื่อภาพ: Uca annulipes species of fiddler crab
Uca annulipes เป็นปูก้ามดาบชนิดหนึ่งจากหลาย ๆ ชนิด ที่สามารถพบเห็นได้ในบริเวณป่าชายเลนหรือป่าโกงกาง และหาอาหารตอนน้ำลงในตอนเย็น
ปูก้ามดาบชนิดนี้มีสีสันสวยงามสะดุดตา แต่ปูก้ามดาบเพศผู้และเพศเมียมีขนาดและรูปลักษณ์ต่างกัน ปูก้ามดาบเพศผู้มีเสน่ห์เพราะมีก้ามข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง
ส่วนปูก้ามดาบเพศเมียจะมีก้ามขนาดเล็กสองข้าง ปูก้ามดาบเพศผู้ขนาดใหญ่ใช้เวลาขุดโพรงนานที่สุดเมื่อเทียบกับปูก้ามดาบเพศเมียและปูก้ามดาบตัวเล็ก
----------
เจ้าหน้าที่จะส่งรายละเอียดไปให้ทางอีเมล
และหากท่านไม่ได้รับ อีเมล รายละเอียดการรับรางวัลภายใน 3 วันทำการ ให้แจ้งที่ FB NSMThailand
หากพ้นกำหนดนี้จะถือว่าท่านสละสิทธิ์ในการรับรางวัล
ประกาศผลการตัดสิน Image of Science วิจิตร วิจัย ประเภทยอดเยี่ยม ประจำปี 2565
on: 29 เมษายน 2565
ประกาศผลประกวดภาพการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ จากโครงการ "วิจิตร วิจัย"
ประเภทยอดเยี่ยม
----------
เจ้าหน้าที่จะส่งรายละเอียดไปให้ทางอีเมล
และหากท่านไม่ได้รับอีเมล ภายใน 3 วันทำการ (ไม่รวม วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการ)
ให้แจ้งที่ FB NSMThailand
หากพ้นกำหนดนี้จะถือว่าท่านสละสิทธิ์ในการรับรางวัล
----------
1. รางวัลชนะเลิศ
สรรเพชร จินดาทอง
ชื่อภาพ: พืชกินแมลง
หยาดน้ำค้าง (Drosera peltata Thunb) วงศ์ Droseraceae หนึ่งในพืชกินแมลงที่พบในประเทศไทย มีความงดงามแปลกตา บริเวณใบจะมีขนเล็ก ๆ
ส่วนปลายมีหยดน้ำเหนียวใสประกายระยิบระยับ ทำไมพืชถึงกินแมลง นั่นก็เพราะว่าพืชในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่มักจะขึ้นอยู่ในพื้นที่หรือบริเวณที่แร่ธาตุสารอาหารค่อนข้างน้อย
ดินขาดความอุดมสมบูรณ์โดยสารอาหารที่พืชต้องการโดยหลัก ๆ ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน ที่เป็นธาตุที่สำคัญมาก ๆ
ซึ่งแมลง ก็มีธาตุอาหารนี้อยู่ภายในตัว พืชเหล่านี้จึงพัฒนาใบ ที่มีความสามารถในการดักจับแมลง เพื่อดักจับและดูดซับธาตุอาหารในตัวแมลงนั่นเอง
2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
ปฐมภูมิ นิ้วยะวงศ์
ชื่อภาพ: ไอ้ต้าว สีชมพู (THC cannabis)
ภาพถ่ายอิเล็กตรอนของใบกัญชาสายพันธุ์หางกระรอก โดยที่จะสังเกตเห็นลักษณะเด่นสองอย่าง 1. tall needle (ส่วนหนาม ๆ) เป็น physical defense
ของใบไม้จากแมลง ที่ซึ่งเป็นแหล่งที่ผลิต CBD (Cannabidiol) 2. glandular trichome (สีชมพู) เป็น chemical defense ที่แหล่งของ THC (Tetrahydrocannabinol)
ที่สูงเป็นพิเศษ ซึ่งถ้าสายพันธ์ุไหนเจอก้อนกลม ๆ เยอะ จะสามารถผลิต THC ออกมาได้เยอะ ซึ่งจะกระจายตัวไปทั่วส่วนต่างๆของต้นกัญชา
ซึ่งเราจะใช้ศึกษาลักษณะกายภาพของใบกัญชาในสายแต่สายพันธุ์ว่ามีลักษณะส่วนประกอบอย่างไร จุดไหนที่น่าสนใจ เพื่อใช้ในการสกัดสารสำคัญออกมา
3. รองชนะเลิศอันดับ 2
อิสรา อาลี
ชื่อภาพ: AUTOIM-MOON
ภาพถ่ายของ glomerulus ของหนูทดลองที่เป็นโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อของตนเอง (Autoimmune Diseases) ที่ผ่านการย้อมด้วยสีเรืองแสง
ชนิดแอนติบอดี ที่สามารถบอกถึงความแตกต่างกันของเซลล์หรือโปรตีนที่ต้องการย้อมจากสีที่แตกต่างกัน เผยให้เห็นตำแหน่งของความสำคัญ
ที่สามารถบ่งบอกถึงความเป็นโรคของหนูทดลองได้โดยภาพนี้สีเขียวเป็นตัวแทนของ IgG ที่ไปสะสมใน glomerulus
ทำให้เกิดความเสียหายที่ glomerulus ซึ่งเป็นอาการแสดงอย่างหนึ่งในโรคที่เกี่ยวข้องกับ Autoimmune Diseases
แต่ความสวยงามของสีเขียวที่เกิดขึ้นนั้น กลับมีความคล้ายกับพระจันทร์ครึ่งเสี่ยวซึ่งบังเอิญคล้องจองกับคำว่า
Moon ของ Autoimmune Diseases จึงเป็นที่มาของชื่อภาพนี้ที่ชื่อ AUTOIM-MOON
4. รางวัลชมเชย/ขวัญใจกรรมการ
คณิต หาญตนศิริสกุล
ชื่อภาพ: MXene watermill
กังหันน้ำที่ปรากฏในภาพคือวัสดุประเภท 2 มิติ (Two-dimensional material) ชื่อว่าแมกซีน (MXene) ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่าง
เช่น สามารถใช้เป็นวัสดุกักเก็บประจุไฟฟ้าและเป็นตัวนำไฟฟ้าในขั้วแบตเตอร์รี่ นอกเหนือไปจากนั้น แมกซีนยังสามารถใช้ในการทำให้น้ำมีความบริสุทธิ์
โดยกระบวนการ capacitive water desalination โดยปกติแล้วกระบวนการสังเคราะห์แมกซีนจะได้ผลลัพธ์เป็นแผ่นวัสดุ
ที่มีขนาดของพื้นที่ผิวกว้างกว่าความหนาเกิน 1000 เท่าซึ่งก็คือส่วนที่เป็นผืนน้ำสีฟ้าที่ปรากฏในภาพ ส่วนตัวกังหันน้ำ
เกิดจากการการที่วัสดุแมกซีนเกิดการ exfoliate ที่ไม่สมบูรณ์ ทำเกิดเป็น multilayer particle ที่มีด้านที่กว้างที่สุดของกังหันมีขนาดประมาณ
10 ไมโครเมตร หรือเล็กกว่าขนาดของเส้นผมมนุษย์โดยเฉลี่ยประมาณ 10 เท่า
4. รางวัลพิเศษ
(ได้รับโดรน เป็นของรางวัล)
นัฐพงษ์ จิตรจักร
ชื่อภาพ: Living Version of Floral Diagram
ดอกตูมของต้นบานค่ำ (Rivea ornata) ถูกตัดตามขวาง ย้อมด้วยสีสูตรเฉพาะ ส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงที่กำลังขยาย 40 เท่า
เผยให้เห็นโครงสร้างและการเรียงตัวของอวัยวะต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของดอก โดยสามัญแล้วดอกไม้จะประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ชั้น
ได้แก่วงกลีบเลี้ยง วงกลีบดอก เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์มักวาดภาพชั้นทั้ง 4 ของดอก ซึ่งเรียกว่า
ผังโครงสร้างดอก (floral diagram) เพื่อศึกษาและแสดงความจำเพาะของโครงสร้างดอกของพืชแต่ละชนิดที่อาจมีความเหมือน
หรือแตกต่างกันออกไปซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในทางอนุกรมวิธานพืช โดยภาพนี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของผังโครงสร้างดอก
ที่สร้างจากตัวอย่างพืชจริง ไม่ใช่แค่เพียงรูปวาด
----------
เจ้าหน้าที่จะส่งรายละเอียดไปให้ทางอีเมล
และหากท่านไม่ได้รับ อีเมล รายละเอียดการรับรางวัลภายใน 3 วันทำการ ให้แจ้งที่ FB NSMThailand
หากพ้นกำหนดนี้จะถือว่าท่านสละสิทธิ์ในการรับรางวัล
ประกาศผลประกวดภาพถ่ายวิทยาศาสตร์ หัวข้อ วิถีใหม่หัวใจวิทย์
ประเภทยอดนิยม
----------
เจ้าหน้าที่จะส่งรายละเอียดไปให้ทางอีเมล และหากท่านไม่ได้รับอีเมล ภายใน 3 วันทำการ (ไม่รวม วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการ)
ให้แจ้งที่ FB NSMThailand
หากพ้นกำหนดนี้จะถือว่าท่านสละสิทธิ์ในการรับรางวัล
----------
รุ่นประชาชน
1. รางวัลชนะเลิศ
นายพุทธชัย พูนเจริญผล
ชื่อภาพ: ระเบิดเวลาขยะติดเชื้อ
หน้ากากอนามัยนับเป็นสิ่งจำเป็นในยุคช่วงสถานการณ์โควิด 19 ถือว่าเป็นสิ่งที่ช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อของโรคโควิด 19 แต่หากจัดการไม่ดี
ขยะติดเชื้อจาก COVID-19 ก็จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ซึ่งแนวโน้มมีการทิ้งหน้ากากอนามัยจากครัวเรือนที่ยังพบส่วนใหญ่ทิ้งปะปนกับขยะบ้าน
โดยไม่คัดแยกทิ้งให้ชัดเจน ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการระบาดขึ้นได้ เพราะขยะติดเชื้อทั้งหน้ากากอนามัย ของใช้ที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง
เมื่อไม่ได้ถูกแยกออกก็จะทิ้งปะปนไปรถขยะและไปจบที่กองขยะ ส่งผลไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นวงกว้างหากไม่ดูแล
อาจทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสภาพแวดล้อมเป็นวงกว้าง ยากเกินกว่าที่จะแก้ไข
2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
เตชินท์ เกิดพรพุทธมนต์
ชื่อภาพ: Don't keep you eyes close!
ในสถานการณ์วิกฤตโควิด 19 ภัยอันตรายที่ทุกคนต้องเผชิญ สิ่งที่สำคัญมาก ๆ ในช่วงเวลานี้คือการป้องกันโรคด้วยการสวมหน้ากากอนามัย
หรือหน้ากากผ้าที่บริเวณปากและจมูก เพื่อป้องกันเชื้อโควิด 19 เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ทุกคนควรเปิดตารับรู้ข่าวที่เกี่ยวข้องกับโควิด 19 อย่างมีวิจารณญาณ
เนื่องด้วยปัจจุบันที่โลกเต็มไปด้วยข่าวสารที่มากมายและรวดเร็ว จึงทำให้มีข่าวปลอมหรือที่เรียกว่า Fake News ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
ด้วยเหตุนี้ประชาชนทุกคนไม่ควรปิดตาเชื่อข่าวที่เห็นทุกเรื่อง เพราะฉะนั้นวิทยาสามารถจึงเข้ามามีบทบาทในการช่วยตรวจสอบ
และสืบหาว่าแหล่งข้อมูลนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เช่น ดูว่าข่าวนั้นมีงานวิจัยรับรองที่น่าเชื่อถือหรือไม่
ถ้าข่าวนั้นยังไม่มีงานวิจัยรับรองก็พึงระลึกไว้เสมอว่าข่าวอาจจะไม่เป็นความจริงก็เป็นได้
3. รองชนะเลิศอันดับ 2
นางสาวสุมาลี สุวรรณหงษ์
ชื่อภาพ: ลดขยะ ลดความเสี่ยง
ขยะทั่วไปในปัจจุบัน ถือว่าเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ และบุคคลในภาพนี้ก็ทำงานกันทุกวัน ไม่มีวันหยุด
แม้จะเป็นในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ก็ตาม โดยขยะทั้งหลายเหล่านี้ ก็นำความเสี่ยงหรือสิ่งต่าง ๆ มาสู่พวกเขา ไม่ว่าจะเป็นความอันตราย
จากขยะที่ทิ้งกันไม่เรียบร้อย การไม่แยกขยะ หรือว่าจะเป็นความอันตรายจากเชื้อโรคต่าง ๆ ซึ่งพวกเราก็สามารถช่วยให้ปัญหาเหล่านี้ลดลงได้
หากพวกเราช่วยกันแยกขยะ ทิ้งขยะให้เป็นที่ มีการกำจัดขยะที่ถูกวิธี สังคมของเราก็จะน่าอยู่มากขึ้น และปัญหาต่าง ๆ ก็จะลดลง
รุ่นเยาวชน
1. รางวัลชนะเลิศ
ด.ญ.สิมิลัน จิระเจริญสุวรรณ
ชื่อภาพ: การศึกษายุคใหม่ ของเด็กไทย สู้ภัย COVID-19
การศึกษาของเด็กไทยแบบวิถีใหม่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นั้น ใช้การเรียนแบบออนไลน์ โดยครูกับนักเรียนไม่ได้พบปะหน้ากัน แต่มีการใช้เทคโนโลยี
อินเตอร์เน็ต เพื่อช่วยจัดการเรียนการสอน ซึ่งอยู่ภายใต้การเว้นระยะห่างทางสังคม การป้องกันตัวเองโดยการสวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องเรียน
ในสถานที่่เดียวกันกับบุคคลอื่น วิทยาศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องทุกคนในชีวิตประจำวัน
และทุกสาขาอาชีพ ซึ่งในระบบการเรียนการสอนได้นำหลักการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยเป็นสื่อในการสอนเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
โดยไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียนเสมอไปนักเรียนสามารถทดลองผ่านคอมพิวเตอร์ได้เหมือนการทดลองในห้องปฏิบัติการจริง โดยใช้แบบจำลอง
สถานการณ์ทางวิทยาศาสตร์ผ่านเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ และสามารถสื่อสารโต้ตอบกับครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
ศุภณัฏฐ์ ลีลาเรืองเเสง
ชื่อภาพ: ชั่วโมงทองคำ
แสงจากพระอาทิตย์ที่มีสีทองอร่ามในยามเช้า ก็เป็นเพียงอนุภาคโฟตอนที่ต้องเดินทางกว่า 149 ล้านกิโลเมตร จึงตกกระทบบนพื้นผิวของโลก
แสงแดดนั้นเป็นแสงขาว เเต่เมื่อพระอาทิตย์อยู่ใกล้ขอบฟ้า แสงจะมีการหักเหมากขึ้นและปรากฏเป็นสีทอง
กลายเป็นปรากฏการณ์ที่เราเรียกว่า “Golden Hour“
3. รองชนะเลิศอันดับ 2
ปภาวริณฐ์ แก้วมณี
ชื่อภาพ: วิทย์ยุคใหม่
วิทยาศาสตร์ยุคใหม่มักจะพัฒนาไปคู่กับเทคโนโลยี เทคโนโลยีมีบทบาทกับเรามาก เช่น ตึกที่เห็น สิ่งแวดล้อมที่เห็น นำวิทยาศาสตร์มาพัฒนา
ทำให้รอบตัวมีความสะดวกสบายมากขึ้น
----------
เจ้าหน้าที่จะส่งรายละเอียดไปให้ทางอีเมล
และหากท่านไม่ได้รับ อีเมล รายละเอียดการรับรางวัลภายใน 3 วันทำการ ให้แจ้งที่ FB NSMThailand
หากพ้นกำหนดนี้จะถือว่าท่านสละสิทธิ์ในการรับรางวัล