หยาดน้ำค้าง (Drosera peltata Thunb) วงศ์ Droseraceae หนึ่งในพืชกินแมลงที่พบในประเทศไทย มีความงดงามแปลกตา บริเวณใบจะมีขนเล็ก ๆ ส่วนปลายมีหยดน้ำเหนียวใสประกายระยิบระยับ ทำไมพืชถึงกินแมลง นั่นก็เพราะว่าพืชในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่มักจะขึ้นอยู่ในพื้นที่หรือบริเวณที่แร่ธาตุสารอาหารค่อนข้างน้อย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์โดยสารอาหารที่พืชต้องการโดยหลัก ๆ ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน ที่เป็นธาตุที่สำคัญมาก ๆ ซึ่งแมลง ก็มีธาตุอาหารนี้อยู่ภายในตัว พืชเหล่านี้จึงพัฒนาใบ ที่มีความสามารถในการดักจับแมลง เพื่อดักจับและดูดซับธาตุอาหารในตัวแมลงนั่นเอง
เจ้าของผลงาน: สรรเพชร จินดาทอง
ภาพถ่ายอิเล็กตรอนของใบกัญชาสายพันธุ์หางกระรอก โดยที่จะสังเกตเห็นลักษณะเด่นสองอย่าง 1. tall needle (ส่วนหนาม ๆ) เป็น physical defense ของใบไม้จากแมลง ที่ซึ่งเป็นแหล่งที่ผลิต CBD (Cannabidiol) 2. glandular trichome (สีชมพู) เป็น chemical defense ที่แหล่งของ THC (Tetrahydrocannabinol) ที่สูงเป็นพิเศษ ซึ่งถ้าสายพันธ์ุไหนเจอก้อนกลม ๆ เยอะ จะสามารถผลิต THC ออกมาได้เยอะ ซึ่งจะกระจายตัวไปทั่วส่วนต่างๆของต้นกัญชา ซึ่งเราจะใช้ศึกษาลักษณะกายภาพของใบกัญชาในสายแต่สายพันธุ์ว่ามีลักษณะส่วนประกอบอย่างไร จุดไหนที่น่าสนใจ เพื่อใช้ในการสกัดสารสำคัญออกมา
เจ้าของผลงาน : ปฐมภูมิ นิ้วยะวงศ์
ภาพถ่ายของ glomerulus ของหนูทดลองที่เป็นโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อของตนเอง (Autoimmune Diseases) ที่ผ่านการย้อมด้วยสีเรืองแสง ชนิดแอนติบอดี ที่สามารถบอกถึงความแตกต่างกันของเซลล์หรือโปรตีนที่ต้องการย้อมจากสีที่แตกต่างกัน เผยให้เห็นตำแหน่งของความสำคัญ ที่สามารถบ่งบอกถึงความเป็นโรคของหนูทดลองได้โดยภาพนี้สีเขียวเป็นตัวแทนของ IgG ที่ไปสะสมใน glomerulus ทำให้เกิดความเสียหายที่ glomerulus ซึ่งเป็นอาการแสดงอย่างหนึ่งในโรคที่เกี่ยวข้องกับ Autoimmune Diseases แต่ความสวยงามของสีเขียวที่เกิดขึ้นนั้น กลับมีความคล้ายกับพระจันทร์ครึ่งเสี่ยวซึ่งบังเอิญคล้องจองกับคำว่า Moon ของ Autoimmune Diseases จึงเป็นที่มาของชื่อภาพนี้ที่ชื่อ AUTOIM-MOON
เจ้าของผลงาน: อิสรา อาลี
กังหันน้ำที่ปรากฏในภาพคือวัสดุประเภท 2 มิติ (Two-dimensional material) ชื่อว่าแมกซีน (MXene) ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่าง เช่น สามารถใช้เป็นวัสดุกักเก็บประจุไฟฟ้าและเป็นตัวนำไฟฟ้าในขั้วแบตเตอร์รี่ นอกเหนือไปจากนั้น แมกซีนยังสามารถใช้ในการทำให้น้ำมีความบริสุทธิ์ โดยกระบวนการ capacitive water desalination โดยปกติแล้วกระบวนการสังเคราะห์แมกซีนจะได้ผลลัพธ์เป็นแผ่นวัสดุ ที่มีขนาดของพื้นที่ผิวกว้างกว่าความหนาเกิน 1000 เท่าซึ่งก็คือส่วนที่เป็นผืนน้ำสีฟ้าที่ปรากฏในภาพ ส่วนตัวกังหันน้ำ เกิดจากการการที่วัสดุแมกซีนเกิดการ exfoliate ที่ไม่สมบูรณ์ ทำเกิดเป็น multilayer particle ที่มีด้านที่กว้างที่สุดของกังหันมีขนาดประมาณ 10 ไมโครเมตร หรือเล็กกว่าขนาดของเส้นผมมนุษย์โดยเฉลี่ยประมาณ 10 เท่า
เจ้าของผลงาน: คณิต หาญตนศิริสกุล
ดอกตูมของต้นบานค่ำ (Rivea ornata) ถูกตัดตามขวาง ย้อมด้วยสีสูตรเฉพาะ ส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงที่กำลังขยาย 40 เท่า เผยให้เห็นโครงสร้างและการเรียงตัวของอวัยวะต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของดอก โดยสามัญแล้วดอกไม้จะประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ชั้น ได้แก่วงกลีบเลี้ยง วงกลีบดอก เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์มักวาดภาพชั้นทั้ง 4 ของดอก ซึ่งเรียกว่า ผังโครงสร้างดอก (floral diagram) เพื่อศึกษาและแสดงความจำเพาะของโครงสร้างดอกของพืชแต่ละชนิดที่อาจมีความเหมือนหรือแตกต่างกันออกไปซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในทางอนุกรมวิธานพืช โดยภาพนี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของผังโครงสร้างดอก ที่สร้างจากตัวอย่างพืชจริง ไม่ใช่แค่เพียงรูปวาด
เจ้าของผลงาน : นัฐพงษ์ จิตรจักร
โครงสร้างภายในลำต้นของพืชตามภาพตัดขวางจะมีการเรียงตัวจากด้านนอกไปยังด้านในสุดดังนี้ เอพอเดอร์มิส คอร์เทกซ์ สตีลและพิธ ภายในสตีล จะประกอบด้วยมัดท่อลำเลียงอยู่เป็นกลุ่มๆด้านในคือไซเลม เป็นท่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ ด้านนอกคือโพลเอ็ม เป็นท่อลำเลียงอาหาร โดยเรียงตัวในแนวรัศมีเดียวกันมี วาสคิวลาร์ เรย์ ขั้นอยู่ระหว่างมัดท่อลำเลียงเชื่อมต่อกับคอร์เทกซ์ และ พิธ ซึ่งจะอยู่ด้านในสุด
เจ้าของผลงาน : ตะวันฉาย จิระเจริญสุวรรณ
มดแดงมีชื่อสามัญว่า The Weaver Ant ลักษณะเด่นคือ ไม่มีเหล็กใน แต่ป้องกันตัวโดยใช้สารที่ชื่อว่า กรดมด หรือ Formic Acid ที่อยู่ในส่วนท้อง (Gaster) และปล่อยออกมาทางช่องเปิดเล็กๆ ที่ปลายส่วนท้อง มีกลิ่นฉุนใช้ขับไล่ศัตรู หรือฉีดใส่บาดแผลของศัตรู ทำให้เกิดอาหารระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อน จอห์น เรย เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่สกัดกรดฟอร์มิกโดยกลั่นจากมดจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันได้นำกรดฟอร์มิกมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย ในวงการอุตสาหกรรม เช่น การฟอกหนัง การผลิตกาวลาเท็กซ์ และเป็นสารกำจัดเชื้อโรคในอาหาร
เจ้าของผลงาน: รวิภาส ถึงสุข
Uca annulipes เป็นปูก้ามดาบชนิดหนึ่งจากหลาย ๆ ชนิด ที่สามารถพบเห็นได้ในบริเวณป่าชายเลนหรือป่าโกงกาง และหาอาหารตอนน้ำลงในตอนเย็น ปูก้ามดาบชนิดนี้มีสีสันสวยงามสะดุดตา แต่ปูก้ามดาบเพศผู้และเพศเมียมีขนาดและรูปลักษณ์ต่างกัน ปูก้ามดาบเพศผู้มีเสน่ห์เพราะมีก้ามข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง ส่วนปูก้ามดาบเพศเมียจะมีก้ามขนาดเล็กสองข้าง ปูก้ามดาบเพศผู้ขนาดใหญ่ใช้เวลาขุดโพรงนานที่สุดเมื่อเทียบกับปูก้ามดาบเพศเมียและปูก้ามดาบตัวเล็ก
เจ้าของผลงาน: หทัยภัทร กาญจนศรีเมฆ